กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและเผชิญการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L5267-02-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 62,849.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสืบศักดิ์ กระดี่ ปลัด อบต.ปฎิบัติหน้าที่ นายก อบต.
พี่เลี้ยงโครงการ นายกิตติพงษ์ มุสิกะพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 5,533 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 264,834 ราย หายป่วยแล้ว 207,479 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 49,799 ราย เสียชีวิต 2,023 ราย ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง 2,324,981 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 1 กรกฎาคม 2564) ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่นี้ (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 – 1 กรกฎาคม 2564) กระจายไปทั่วประเทศรวมถึงจังหวัดสงขลา มียอดรวมผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 6,185 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล 2,804 ราย เฉพาะในพื้นที่อำเภอสิงหนครมีผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 186 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในพื้นที่เฉพาะในพื้นที่ตำบลป่าขาดที่ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ได้รับแจ้งและสอบสวนโรคแล้วให้กักตัวที่บ้าน รวม............ครัวเรือน จำนวน..........คน และเฝ้าระวังตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เนื่องจากกลุ่มเสี่ยงนี้ต้องกักตัวอย่างน้อย 14 วันในบ้านของตนเอง และคาดว่าจะมีกลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในพื้นที่อีก ยากที่จะคาดเดาได้
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการตามแนวทางของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ดังนั้นแนวทางที่จะดำเนินการได้ในชุมชนคือการให้ความรู้แก่ประชาชน ในการป้องกัน ตนเองโดยเฉพาะให้ระวังป้องคนในสมาชิกครอบครัวที่เดินทางออกนอกพื้นที่ การป้องกันตนเองโดยใช้หน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาพูดคุยกับคนอื่น และลดการสัมผัสผู้อื่นโดยไม่จำเป็น การไม่ไปร่วมกิจกรรมในพื้นที่มีคนมากๆ รวมถึงให้คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา หน่วยราชการ ห้างร้าน ร้านค้าชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวัง ปัองกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับประชาชนในพื้นที่ของ อบต.ป่าขาด

ประชาชนได้รับความรู้ในการป้องกันโรคโควิด 19

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - จัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับตำบล (บูรณาการร่วม) - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ป่าขาด 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ 2. อบรม ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019
3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข     4. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 5. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 6. ปฏิบัติการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบ้านหรือสถานที่เชื้อสัมผัสและจัดหาวัสดุป้องกันการติดเชื้อให้แก่กลุ่มเสี่ยง 7. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2564 14:10 น.