กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีบ้านใหม่ร่วมใจสู้ภัยมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 60-l5223-ป.1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่
วันที่อนุมัติ 23 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวไลภรณ์ สุขทร
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส หวังมณี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.799723,100.289988place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 เม.ย. 2561 11 เม.ย. 2561 1,500.00
2 19 มี.ค. 2561 23 มี.ค. 2561 1,500.00
3 8 ก.พ. 2561 9 ก.พ. 2561 13,000.00
รวมงบประมาณ 16,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ปีหนึ่งมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทุกชนิด ปีละ 4,500 ราย โดยมีอัตราตายเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 3 คน ในประชากรหนึ่งแสนคน อัตราการตายเท่ากับ 58.35 ในปี 2558 และเพิ่มเป็น 63.24 ในปี 2559 (กระทรวงสาธารณสุข, 2548) และจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าสตรีไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นจากปี 2547 ซึ่งมีอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก 2.4 ต่อแสนประชากร และเพิ่มเป็น 3.1 ต่อแสนประชากรในปี 2548 (กระทรวงสาธารณสุข,2548) ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิตประมาน 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30-60 ปี ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก 2 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92% ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อคนหามะเร็งปากมดลูกจะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear สตรีที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่มักมีสถานะทางเศรษฐกิจต่ำ มีความรู้น้อย มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ปัญหาในการมาตรวจ ความอาย ความรู้สึกเจ็บไม่สบาย ความวิตกกังวลถึงผลการตรวจและความรุนแรงของโรค(สริตา,2558) จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ปี 2559 พบว่ามีสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ 30-60 ปี จำนวน 404 คน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap Smear จำนวน 276 คน ร้อยละ 68.32 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเป็นจำนวนที่ยังไม่ครอบคลุม 100% ทั้งนี้เนื่องมาจากประชาชน ยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจและและความจำเป็นในการประกอบอาชีพ อีกทั้งอาจเข้าใจว่าโรคมะเร็งปากมดลูกไม่เกิดกับทุกคนเพราะในหมู่บ้านที่อาศัยอยู่มีผู้ป่วยน้อยเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้การคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและสามารถพบผู้ที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิดแรกเริ่มก่อนเป็นโรคมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ จึงได้จัดทำโครงการสตรีบ้านใหม่ร่วมใจสู้ภัยมะเร็งปากมดลูก ปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลุกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย

1.สตรีอายุ 30-60 ปีมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีอายุ 30-60 ปีมีความตระหนักในการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย

สตรีอายุ 30-60 ปีมีพฤติกรรมการรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแรก

ค้นพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแรกหรือพบความผิดปกติในระยะแรกหรือพบความผิดปกติในระยะแรกจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงนโยบาย 2.สำรวจข้อมูลสตรีอายุ 30-60 ปี 3.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 4.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่อสม. ชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานจำนวน 4 หมู่บ้าน จำนวน 66 คน 4.2 ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องการรณรงค์ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกในชุมชน จำนวน 4 หมู่บ้าน โดยผ่านสื่อเสียงตามสาย แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ 4.3 รณรงค์ตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปากมดลูกสตรี อายุ 30-60 ปี ติดตามให้ความรู้(ในกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มาตรวจ) ระหว่าง มิถุนายน - กันยายน 2560
- ในสถานบริการ - หน่วยเคลื่อนที่ในชุมชน - ให้ความรู้และทำคู่มือความรู้และการปฏิบัติในการดูแลตนเองเรื่องมะเร็งปากมดลูก
- รายงานผลการรณรงค์ตรวจคัดกรอง - อสม.ออกติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 5.สรุปผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค 6.ประชุม อสม.และคณะทำงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนที่ได้จากการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก เพิ่มขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐาน 2.จำนวนผู้ป่วยที่ค้นพบเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ได้รับการรักษาพยาบาลในระยะแรกของการเป็นโรคมะเร็ง 3.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของรัฐ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 14:43 น.