กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว
รหัสโครงการ 60-l5223-ป.1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่
วันที่อนุมัติ 23 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 35,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวไลภรณ์ สุขทร
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส หวังมณี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.799723,100.289988place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2561 22 ก.พ. 2561 18,000.00
2 20 ก.พ. 2561 21 ก.พ. 2561 13,200.00
3 6 ก.พ. 2561 22 ก.ค. 2561 3,960.00
รวมงบประมาณ 35,160.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครประจำครอบครัว เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน มาเป็นระยะเวลาครบ 30 ปี ด้วยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมดดยรววมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกและศรัทธาในการพัฒนาอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริง กระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งภาวะวิกฤต และภาวะปกติ ในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ภายหลังการอบรม ในปี 2552 ซึ่งกำลังจะก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ทศวรรษที่ 4 ของงานสาธารณสุขมูลฐาน(พ.ศ.2552-2562) อันเป็นทศวรรษแห่งการสร้างนวัตกรรมเพื่อสุขภาพชุมชนโดยชุมชน กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาศักยภาพอาสมัครประจำครอบครัวด้วยการดำเนินการอบรมพื้นฟูความรู้ โดยมุ่งหวังว่าหากแกนนำได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นกลไกหลักสำหรับการสร้างสังคมใหม่ที่มีคุณภาพ โดยเบนเข็มการพัฒนาอาสาสมัครจากวิถีการให้บริการที่ใช้อยู่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ไปเป็นวิถีการพัฒนาโดยการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีกว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักญภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อใ้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตลอดจนการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัวในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ให้บริการและประสานงานให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงกา่ร อบรมฟื้นฟูเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อทบทวนบทบาทและภารกิจของอาสาสมัครประจำครอบครัวในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป

อาสาสมัครประจำครอบครัวรู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง และระบบการทำงานกับชุมชนได้ถูกต้อง

2 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของอาสาสมัครประจำครอบครัวในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

อาสาสมัครประจำครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3 เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน

ชุมชนมีการจัดระบบการงเฝ้าระวังและดูแลโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชน และสามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน และการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว ในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางการพัฒนา 2.ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่เจ้าหน้าที่และอสค.ทุกหมู่บ้าน 3.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 4.แต่งตั้งคณะทำงาน/ประชุมคณะทำงาน ทีมวิทยากรระดับอำเภอ เพื่อกำหนดเนื้อหาและทางการดำเนินงาน 5.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอสค.ทุกหมู่บ้านเพื่อประสานผู้เข้าประชุม 6.เตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณ 7.ดำเนินการอบม และการรณรงค์กิจกรรมด้านสุขภาพ 8.ประเมินผลการอบรม และการรณรงค์กิจกรรมด้านสุขภาพ 9.สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครประจำครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ชุมชนมีการจัดระบบการเฝ้าระวังดูแลโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชน และสามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 15:03 น.