กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ และหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ปี 2560
รหัสโครงการ 60-l5223-ป.1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักกูด
วันที่อนุมัติ 23 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมสมร ภู่พิสุทธิ์ธนภัทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส หวังมณี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.809622,100.314167place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ต.ค. 2560 14 พ.ย. 2560 13,750.00
2 27 พ.ย. 2560 19 ธ.ค. 2560 12,000.00
3 18 มิ.ย. 2561 18 มิ.ย. 2561 4,250.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในเมืองและเขตชนบททำให้ประชาชนต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลาขาดการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ส่งผลให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี่มีสาเหตุมาจากการที่ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกาย กินผักผลไม้ที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด ความเครียด และการสูบบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งการเกิดโรคเรื้อรังดังกล่าว ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ รัฐบาลต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้เป็นจำนวนมาก การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายทั่วประเทศ ล่าสุดในปี 2552 พบคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป มากกว่า 1 ใน 3 มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน (ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ตั้งแต่ 25 กก./เมตร ขึ้นไป) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2เท่า (จาก 17.2% เป็น 34.7%) และภาวะอ้วน เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (จาก 3.2% เป็น 9.1%) เมื่อเทียบกับผลสำรวจรอบแรกในปี 2534 ซึ่งผลต่อสุขภาพมากมาย ทั้งผลกระทบเฉียบพลันและปัญหาเรื้อรัง จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในเมืองและชนบททำให้ประชาชนต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลา ขาดการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ส่งผลให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีอัตราป่วยต่อแสนประชากร ดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10 โรคความดันโลหิตสูง 708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และมีอัตราการตายต่อแสนประชากร ดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิ 85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64 และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.2550) ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ม.4-8 ตำบลบ้านใหม่ ปี 2559 พบว่ามีประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ และมีค่าความดันโลหิตสูงกว่าปกติ (หลังจากกรองซ้ำ) จำนวน 63 คน ร้อยละ 4.98 และ 144 ร้อยละ 25.92 ตามลำดับ อีกทั้งพบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากรของผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2559 เบาหวาน 2 ราย ร้อยละ 107.52 ความดันโลหิตสูง 2 ราย ร้อยละ 107.52 ซึ่งเกินเกณฑ์ และส่งผลกระทบต่อระบบการดูแลผู้ป่วยในการเพิ่มภาระการดูแล และเพิ่มค่ารักษาพยาบาลในระบบในอนาคต ดังนั้นโรงพยาบาลสุขภาพตำบล บ้านผักกูด ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัดาห์ละ 3 -5 วัน วันละ 30 นาที ร่วมกับการกินผัก ผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป ลดอาหารมัน และมีส่วนร่วมในการจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรควิถีชีวิตและส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและมีสุขภาพแข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน ในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ร้อยละ 95

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจและดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 50

3 เพื่อสร้างพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเอง/ลดภาวะการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 4

4 เพื่อให้เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับรับประทานผัก ผลไม้สด วันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัม และลดอาหารไขมัน อาหารรสเค็ม

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 8

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมเครือข่าย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด 2.ประสานภาคีเครือข่าย แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นดำเนินการ 1.รณรงค์คัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป วันละ 1 หมู่บ้าน รวบรวมข้อมูลผลคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ ผ่านระบบ JHCIS 2.จัดกิจกรรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดัน ตามแนวทาง 3อ 2ส เพื่อลดอุบัติการณ์เกิดผู้ป่วยรายใหม่ 3.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ป่วยที่ควบคุมโรคไม่ได้ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ขั้นประเมินผล 1.สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการจัดการความเครียด หลังการให้ความรู้ 2 เดือน 2.สรุปรายงานผลการดำเนินงาน และประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 95 ได้รับการคัดกรองตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจหาน้ำตาลในกระแสเลือด (DTX ปลายนิ้วมือ)
2.ลดอัดตราการเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ 3.ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 15:18 น.