กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีผักกูดรู้เท่าทันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ปี 2560
รหัสโครงการ 60-l5223-ป.1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักกูด
วันที่อนุมัติ 23 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2561
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมสมร ภู่พิสุทธิ์ธนภัทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส หวังมณี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.809622,100.314167place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 ธ.ค. 2560 14 ธ.ค. 2560 500.00
2 17 ก.ค. 2560 20 ธ.ค. 2561 12,500.00
รวมงบประมาณ 13,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทย และพบว่าอัตราการตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทย มีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ตามลำดับ สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ,2553) นอกจากนี้ยังพบว่าการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณืและอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำ Pap smear หรือ VIA (Visual Inspection of cervix with Acetic acid) ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy)
จังหวัดสงขลามีนโยบายให้สตรีอายุ 30-60 ปีทุกคน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558-2562) โดยตั้งเป้าหมายให้มีการตรวจคัดกรองฯ ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 สำหรับปีงบประมาณ 2559 ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักกูด ตำบลบ้านใหม่ มีสตรีกลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อายุ 30-70 ปี 337 คน ผลการคัดกรองปี 2558-2559 จำนวน 237 คน ร้อยละ 70.96 มีสตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง อายุ 30-70 ปี จำนวน 427 คน ประเมิน 411 คน ร้อยละ 96.25 (ข้อมูลผลการดำเนินงาน จาก Datacenter Takis;22 มิ.ย.2560) ถึงแม้แม้จะมีผลงานที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีกลุ่มเป้าหมายบางส่วนไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม การค้นหาความผิดปกติตั้งแต่เริ่มแรกและตรวจอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการลุกลามและลดการแพร่กระจาเชื้อที่ส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วยได้อีก ทั้งการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ทุกเดือนในสตรีวัยทำงานยังได้ผลไม่ดีนัก มีเพียงบางส่วนที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน การรับบริการคัดกรองอย่างต่อเนื่องจะส่งผลดีต่อสุขภาพสตรี ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผักกูด ตำบลบ้านใหม่ จึงได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมสตรีผักกูดรู้เท่าทันมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม

1.ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30- 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะเวลา 5 ปี 2.ร้อยละ 90 ของสตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการประเมินการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน

2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้ สามารถดูและสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนในการเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมได้อย่างถูกต้อง

 

3 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี ที่ตรวจพบมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย

 

4 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี ที่มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านผักกูด ตำบลบ้านใหม่ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.รพ.สต.จัดทำแผนปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตรับผิดชอบ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการตรวจคัดกรองฯ ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุข 4.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงาน 5.ดำเนินการรณรงค์คัดกรองรายหมู่บ้าน 6.ลงบันทึกข้อมูลตามระบบโปรแกรม JHCIS และส่งข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระบบการส่งข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ 7.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ที่มีผลการคัดกรองผิดปกติทุกราย 8.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานฯ ให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมได้อย่างเหมาะสม 3.สตรีที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย 4.สตรีกลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้รับการคัดกรองความผิดปกติทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 15:21 น.