กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัย COVID -19 ระดับพื้นที่ (LQ) เทศบาลตำบลปาเสมัส ปี 2564 (ต่อเนื่องครั้งที่ 1)
รหัสโครงการ 64-L2535-05-32
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 99,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุรุลฮูดา ราเซะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เดือนเมษายน 2464 ได้ขยายเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายพื้นที่ และการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน แม้การระบาดระลอกนี้เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นและกินเวลายังไม่ถึง 1 เดือน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมของการระบาดระลอกนี้ มากกว่าการระบาดในสองรอบแรกไปแล้ว กล่าวคือการระบาดระลอก ม.ค. 2563 (ระยะเวลาประมาณ 11 เดือน) ผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย และระลอก เดือนธันวาคม2563 (ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน) มีผู้เสียชีวิตสะสม 34 รายและระลอกสามนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ซึ่ง ศบค. นับเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดระลอกใหม่ จนถึงปัจจุบัน (13 มิถุนายน 2564) มีผู้ติดเชื้อสะสม 324,849คนผู้เสียชีวิตสะสม 2,753คนคิดเป็นร้อยละ 0.85 การระบาดที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้การรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและนอกจากนี้ยังมีผู้มีเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งความจำเป็นจะต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการ
ตาม พรบ.เทศบาล พศ. 2466 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50(4) บัญญัติให้เทศบาลมีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับจังหวัดนราธิวาสได้มีคำสั่งฯ ที่2146/2564 ลงวันที่ 11 เมษายน 2564 ประกาศสถานที่กักกัน (Local Quarantine) จำนวน 34 แห่ง เพื่อเป็นสถานที่กักกันและมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564ณ ศาลากลางมีมติให้เตรียมการจัดตั้งสถานทีกักกันในระดับท้องถิ่น ตำบลและชุมชน เพื่อรองรับผู้เข้ากักกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเตรียมสถานที่กักกันในระดับท้องถิ่น เพื่อให้พร้อมและสามารถรองรับผู้เข้ากักกันที่เป็นคนในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้ทันเมื่อเกิดเหตุการณ์ สถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอำเภอสุไหงโก-ลก ตั้งแต่การระบาดในระลอกใหม่จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 13 ก.ค. 2564) มีผู้ป่วยสะสม 100 ราย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้ออยู่แล้วโดยเฉพาะอำเภอสุไหโก-ลกเป็นพื้นที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จึงมีความเสี่ยงที่จะพบผู้ป่วยที่ลักลอบเดินทางกลับเข้ามาโดยไม่เข้าระบบการกักตัวที่รัฐจัดให้ และเข้าไปอาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชนซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อเป็นอย่างมากรวมถึงผู้ที่เดินทางไปในที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคฯ หรือสัมผัสผู้ที่เสี่ยงสูงเกิดการติดเชื้อโดยไม่มีอาการและกลับเข้ามาอาศัยร่วมกับกับคนในพื้นที่ ทำให้เกิดการระบาดอย่างวงกว้าง สำนักงานเทศบาลตำบลปาเสมัสได้ดำเนินจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัย COVID -19 ระดับพื้นที่ (LQ) เทศบาลตำบลปาเสมัส ปี 2564 ไปแล้ว 1 ครั้ง โดยได้เริ่มกักตัวและสังเกตอาการผู้ที่มีภาวะเสี่ยงตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2564 เป็นต้นมา ซึ่งพบผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวก 1 ราย ซึ่งได้ดำเนินการส่งเข้ารักษาตามระบบสาธารณสุข แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันยังคงทวีความ รุนแรง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัสเล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมป้องกันโรคดังกล่าว จึงได้จัดโครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัย COVID -19 ระดับพื้นที่ (LQ) เทศบาลตำบลปาเสมัสปี 2564 (เพิ่มเติมครั้งที่ 1)เพื่อเตรียมพร้อมและสามารถรองรับผู้เข้ากักกันที่เป็นคนในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทันเมื่อเกิดเหตุการณ์ ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้สนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้การสนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฯ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ โดยให้พิจารณาใช้อำนาจตาม ประกาศ ฉ.3(โดยประธานกองทุนฯ) เพื่อสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นตลอดจนการดำเนินการต่างๆเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

 

0.00
2 เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงที่เดินทางจากนอกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับการสังเกตอาการ ตลอดจนคัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19 )

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,040.00 2 96,140.00
1 ก.ค. 64 การจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) และจัดหาเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) 0 23,440.00 -
1 ก.ค. 64 การจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ดำเนินการคัดครอง สังเกตอาการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) จำนวน รอบละไม่เกิน 30 คน 0 75,600.00 -
21 ก.ค. 64 การจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) และจัดหาเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) 0 0.00 23,440.00
21 ก.ค. 64 การจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ดำเนิการคัดกรอง สังเกตอาการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 3 รอบๆ ละไม่เกิน 8 ราย 0 0.00 72,700.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงได้รับบริการกักตัวในศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine)ในระดับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงที่เดินทางจากนอกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับการสังเกตอาการ ตลอดจนคัดกรองเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2564 00:00 น.