กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งศูนย์กักกัน เพื่อสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงสูง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลนครสงขลา ปี 2564
รหัสโครงการ L7250-05-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรินทิพย์ มุณีสว่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก พบการระบาดในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศไทยมีพรหมแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา และมีการเคลื่อนย้ายของประชากรเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก ขณะเดียวกันประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย
รายงานสถานการณ์จากทั่วโลก มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 184,562,051 ราย เสียชีวิต 3,993,319 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ จำนวน 289,233 ราย เสียชีวิต 2,182 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 4 กรกฎาคม 2564) ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อผู้คนและเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ซึ่งรัฐบาลได้ออกนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ป่วย และการกักกันผู้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือพื้นที่เสี่ยงสูง ลดความแออัด โดยใช้สถานที่ที่รัฐกำหนดให้เป็นสถานที่กักกัน เพื่อการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ตามหลักเกณฑ์แนวทางที่รัฐกำหนด
จังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อสะสม จำนวน 5,308 ราย เสียชีวิต 22 ราย
อำเภอเมืองสงขลา พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อ จำนวน 1,045 ราย เสียชีวิต 7 ราย ส่วนในเขตเทศบาลนครสงขลา พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อ จำนวน 424 ราย เสียชีวิต 3 ราย (ข้อมูล:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา วันที่ 4 กรกฎาคม 2564) และคาดว่าจะมีแนวโน้มพบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ขยายวงกว้างเพิ่มมากขึ้น และกระจายไปยังหลายพื้นที่ จากการติดตามและการสอบสวนโรคพบว่าการระบาดของโรคติดต่อดังกล่าวพบมากในคนใกล้ชิดที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ชุมชนและพื้นที่แออัด ดังนั้น เพื่อลดและควบคุมการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 จึงจำเป็นต้องแยกกลุ่มเสี่ยงสูงที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยใช้สถานที่ที่รัฐกำหนดให้เป็นสถานที่กักกัน งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครสงขลา จึงได้มีการจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์กักกัน เพื่อสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงสูง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลนครสงขลา
ปี 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อแยกกลุ่มเสี่ยงและลดความแออัดในบ้านและชุมชน
  1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการกักตัว  80 %
0.00
2 2. มีสถานที่กักกัน จำนวน 2 แห่ง
  1. มีสถานกักกันกลุ่มเสี่ยงไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2 แห่ง  88 ห้อง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการ ดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน - ดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับประชาชนภายในเขตเทศบาลนครสงขลา ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) - เฝ้าระวังและประเมินวิเคราะห์กลุ่มเสี่ยงในชุมชน และคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเพื่อเข้าสังเกตอาการในศูนย์กักกัน   - เฝ้าระวังและสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงใน Local Quarantine - ติดตามสถานการณ์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานในการเฝ้าระวังโรค 4.สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ลดลง
    1. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2564 10:09 น.