กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลัง เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L8409-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต. บ้านฉลุง
วันที่อนุมัติ 23 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 99,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. น.ส.จิราวรรณ์ ผิวเหลือง 2. น.ส.เจ๊ะโสม สาลีมีน 3 น.ส.สุไหวหยะ เจ๊ะหมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single stranded RNA virus) ใน Family Coronaviridae มีรายงานการพบเชื้อมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1965 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร ประกอบด้วยชนิดย่อยหลายชนิดและทำให้มีอาการแสดงในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ (รวมถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส; SARS CoV) ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท หรือระบบอื่นๆ พบได้ทั่วโลก การติดเชื้อโคโรนาไวรัสอาจทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ถึงร้อยละ 35 และสัดส่วนของโรคไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสอาจสูงถึงร้อยละ 15 โดยพบเริ่มจากประเทศจีนแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Coronaviruses) อาจทำให้เกิดอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ โดยในทารกที่มีอาการรุนแรง อาจมีลักษณะของปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ในเด็กโตอาจมีอาการของหอบหืด(Asthma) ส่วนในผู้ใหญ่ อาจพบลักษณะปอดอักเสบ (Pneumonia) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) หรือการกลับเป็นซ้ำของโรคหอบหืดได้ และอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้มากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ในทุกอายุ และหากแสดงอาการมักพบร่วมกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น Rhinovirus, Adenovirus หรือเชื้ออื่นๆ การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome; SAR CoV) จะพบมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แล้วมีอาการไอ และ หอบเหนื่อยอย่างรวดเร็ว ซึ่งอัตราตายจะสูงขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Coronaviruses) มักพบบ่อยในเด็กแรกเกิด และทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี หรืออาจพบในผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบเชื้อได้แม้ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ และไม่มีฤดูกาลการเกิดโรคที่แน่นอน วิธีการแพร่โรค : แพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส (Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย (Droplet) จากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยการ ไอ หรือจาม     สำหรับรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)ในประเทศไทย เมื่อวันที่  12 ก.ค.64 พบว่าผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเพิ่มขึ้น 8,656 ราย ผู้ป่วยสะสมจำนวน 316,164 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 80 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม จำนวน 2,791 ราย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) จังหวัดสตูลพบว่าผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเพิ่มขึ้น 9 ราย ผู้ป่วยสะสมจำนวน 232 ราย ผู้เสียชีวิต 0 ราย ตำบลฉลุง อำเภอเมืองจังหวัดสตูล พบผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 9 ราย มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนประมาณ 40 ราย กลุ่มเสี่ยงต่ำจำนวนประมาณ 200 รายและมีผู้ที่เดินทางจากต่างจังหวัดพื้นที่เสี่ยงสูงประมาณ 570 คน ( ข้อมูล ณ วันที่ 12 ก.ค.64 ) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีความตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นอย่างมาก เนื่องจากเขตตำบลฉลุง เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ศูนย์กลางการศึกษา และเป็นศูนย์กลางของการจับจ่าย เป็นย่านเศรษฐกิจ จึงต้องมีการเร่งรัดดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการรวมพลัง เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อเฝ้าระวังคัดกรองในพื้นที่ชุมชนและสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความเข้มแข็ง และไม่เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ข้อที่ 2 เพื่อให้มีวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ในการปฏิบัติงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ที่ถูกต้อง ร้อยละ 100 มีวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ในการปฏิบัติงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง ร้อยละ100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินงาน   แบ่งการดำเนินงาน เป็น ๓ กิจกรรม   กิจกรรมที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ศึกษาสถานการณ์การการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ย้อนหลัง 1 ปี และปัจจุบัน ศึกษาข้อมูลประวัติการเกิดโรคในชุมชน   กิจกรรมที่ ๒ ดำเนินการ ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์สถานการณ์และประเมินความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ เขียนโครงการเสนอกองทุนสุขภาพตำบล ดำเนินโครงการ     4.1 รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019     4.2 เฝ้าระวังคัดกรองในพื้นที่ชุมชนและสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง     4.3 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    4.4 เพิ่มช่องทางการแจ้งเบาะแสการเข้าออกชุมชนจากผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงให้มีความทันท่วงที     4.5 สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๓ ถอดบทเรียน ร่วมกันถอดบทเรียน และอภิปราย สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
            2. มีวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ในการปฏิบัติงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
            3. สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทันท่วงที ไม่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อฯในพื้นที่         4. ไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)ในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2564 11:38 น.