กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแกนนำครอบครัวร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60 – L5181 -01-011
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ.
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 191,790.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมรักพูลสวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอุสมานหวังสนิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.035,100.7place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน/สังคมตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2559 - 18 ตุลาคม 2559 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 2,838ราย มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 5 ราย อัตราป่วยสูงสุดอันดับแรก คือ อำเภอเมืองสงขลา รองลงมาคือ อำเภอหาดใหญ่ เทพา และสิงหนคร ตามลำดับ พื้นที่ตำบลนาทับ ในปี 2559 พบมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 63 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 928.10 ต่อประชากรแสนคน โดยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลสงขลา 61ราย และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาสถานพยาบาลอื่น เป็นจำนวน 2 รายไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทับยังคงมีการระบาดทุกปีประกอบกับตำบลนาทับเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสาย ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตลอดทั้งปี กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาทับร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ตำบลนาทับ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ได้ร่วมกัน เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มาตั้งแต่ 2557 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบล นาทับ โดย ยึดหลัก มาตรการ 5 ป. 1 ข. โดยให้ประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกระบาด ด้วยการกำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตและการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทับต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก

2 เพื่อให้ประชาชนในตำบลนาทับเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจและตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

3 เพื่อปฏิบัติการควบคุมป้องกันโรคในหมู่บ้าน/โรงเรียน

ค่าอัตราความชุกน้ำยุงลายในโรงเรียน = 0 ค่าอัตราความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน =เกิน 10%

4 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกระดับตำบล(SRRT)

ทีมควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกระดับตำบล(SRRT)มีความเข็มแข็งในการ ดูแลควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
2. ส่งโครงการเข้าคณะอนุกรรมการเพื่อ พิจารณากลั่นกรองโครงการ
3. คณะกรรมการกองทุนฯประชุมพิจารณาโครงการ
4. ดำเนินกิจกรรมโครงการ 4.1โดยจัดอบรมให้ความรู้แกนนำครอบครัวและแกนนำนักเรียน
4.2 การประชาสัมพันธ์โครงการ และเสียงตามสายโดย อสม. ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก การรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง การพ่นหมอกควัน
4.3. สนับสนุนเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำทั้ง 8 หมู่บ้านและไฟฉายสำหรับการส่องตรวจลูกน้ำยุง 4.4. จัดทำเอกสารแผ่นพับ ไวนิล เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้แก่ชุมชนและโรงเรียน
4.5. จัดให้มีกิจกรรมหน้าบ้าน น่ามองโดยส่งเสริมให้ประชาชนได้ปลูกพืชสมุนไพร/ไม้ดอก ไม้ประดับไล่ยุงไว้หน้าบ้าน
4.6. จัดหาให้มีวัสดุ น้ำมัน/สารเคมีเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ดูแลเครื่องพ่นหมอกควันให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และส่งมอบให้อยู่ในความดูแลของอสม./รพ.สต. ในพื้นที่
4.7. จัดหาให้มีวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันยุงกัด เช่น โลชั่น สเปรย์ ผ้าบางสำหรับห่อทรายอะเบท ฯลฯ 4.8. ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันตามบ้านเรือนกรณีได้รับแจ้งมีผู้ป่วยไข้เลือดออกภายใน 24 ชม.แรกและอีก 7 วันต่อมา รวมทั้งดำเนินการพ่นหมอกควันในสถานศึกษาก่อนเปิดภาคเรียนการศึกษาในวันเสาร์-อาทิตย์และในหมู่บ้าน 4.9. กรรมการและอสม.ในแต่ละหมู่บ้านร่วมเดินสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและความชุกของลูกน้ำยุงลายพร้อมควบคุมทางกายภาพ ทั้ง 8 หมู่บ้านและ แกนนำนักเรียนสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและความชุกของลูกน้ำยุงลายพร้อมควบคุมทางกายภาพ ในโรงเรียน เพื่อให้หมู่บ้านและโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย 5. ประเมินผลโครงการ 6. สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการกองทุน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในตำบลนาทับเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย 2.ภาคีเครือข่ายมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการร่วมมือกันควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในชุมชนตำบลนาทับอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2560 09:09 น.