กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา


“ โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา ”

ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายสัญญา ยือราน เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานเภสัชกรรม สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา

ที่อยู่ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 64 – L7452 – 1 - 13 เลขที่ข้อตกลง 31-2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 64 – L7452 – 1 - 13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในประเทศไทยพบว่า จำนวน ผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดยะลาของเรายังคงมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 พบว่า ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 มีจำนวน 5,352 ราย และผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 164 ราย ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมมากที่สุดจำนวน 2,184 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ 72 ราย ที่สำคัญคือ เขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 650 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ 31 ราย และผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย ดังนั้น ประชาชนทุกคน ทุกครอบครัว ทุกชุมชน ต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมามาตรการสำคัญของการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) คือ การเว้นระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ และปฏิบัติตามมาตราการของจังหวัดยะลาอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการให้ประชาชนตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงให้ได้รับการฉีดวัคซีน และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่เขตเทศบาลที่ยังคงมีความรุนแรง อีกหนึ่งมาตรการที่สำคัญคือ การให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง และได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดจะเกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยเฉพาะที่สำคัญ คือการแพร่กระจายเชื้อลงสู่ปอดอย่างรุนแรง ทำให้การรักษายาวนานขึ้น จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีข้อแนะนำเรื่องการใช้สมุนไพรหลายชนิดมีประโยชน์ในการเสริมภูมิคุ้มกัน และหลายชนิดมีแนวโน้มว่าจะสามารถช่วยรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยเฉพาะสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ซึ่งเป็นสมุนไพรสามัญประจำบ้าน อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสจึงจะได้ผลดีเมื่อให้ยาเร็วที่สุดในขณะที่เป็นการติดเชื้อระยะต้นและเชื้อยังน้อย (ไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมงหลังรับเชื้อ) ใช้รักษาในกรณีที่ติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 หรือมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าน่าจะมีการติดเชื้อแล้ว อาจมีอาการไข้หวัด ไอ เจ็บคอ เป็นต้น ดังนั้น สำหรับ ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 ที่ควรจะได้รับการรักษาด้วยยาฟ้าทะลายโจร คือ 1. ผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อโควิด - 19 และไม่มีข้อห้ามต่อการใช้ยาฟ้าทะลายโจร (ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ, ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง คือ ไม่น่าจะมีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ไม่มีโรคร่วมที่สำคัญ และผู้ป่วย โควิด-19 ทุกกรณีที่ยังต้องรอการรับเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา และ 2. ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อ พิจารณาเช่นเดียวกับข้อ 1. โดยไม่ต้องรอผลการตรวจหาไวรัส ขนาดยาที่ใช้ในการรักษา โควิด-19 โดยการยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์ ใช้ยาฟ้าทะลายโจรที่ระบุปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ เท่านั้น สำหรับผู้ใหญ่/ผู้ที่มีน้ำ หนักตัวตั้งแต่ 50 กก.ขึ้นไป คือ “แอนโดรกราโฟไลด์ 180 มก./วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร เป็นเวลา 5 วัน” ใช้ได้ทั้งในรูปแบบยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรและยาผงบดฟ้าทะลายโจร ต้องให้ได้ปริมาณที่ ได้รับใกล้เคียง 180 มก./วัน จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีประโยชน์ในการเสริมภูมิคุ้มกัน และสามารถช่วยรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่สำคัญเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่บ้านระหว่างรอคอยการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และการรักษากลุ่มเสี่ยงที่คาดว่าน่าจะมีการติดเชื้อโรคโควิด- 19 ดังนั้น งานเภสัชกรรม และงานแพทย์แผนไทย กลุ่มบริการทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 ผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อโควิด–19 ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
  2. 2 ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลุ่มเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อ ได้รับการรักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
  3. 3 ผู้ที่ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1 การประชุมชี้แจงเครือข่ายสุขภาพชุมชน และเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จำนวน 20 คน
  2. 2 การจัดซื้อและการกระจายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสู่ผู้ติดเชื้อโควิด-19
  3. 3 การประชาสัมพันธ์การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาติดเชื้อโควิด-19
  4. 4 การเคาะประตูบ้าน แนะนำการดูแลรักษา และการติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนได้รับความรู้ และประยุกต์ใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในครัวเรือนสำหรับการรักษาติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง
  2. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในสภาวะสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างคลอบคลุม
  3. ลดการแพร่ระบาด ลดการเกิดความรุนแรงของโรค และลดการสูญเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1 ผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อโควิด–19 ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
ตัวชี้วัด : 1 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อโควิด–19 ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
0.00

 

2 2 ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลุ่มเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อ ได้รับการรักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
ตัวชี้วัด : 2 ร้อยละ 80 ของผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลุ่มเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อ ได้รับการรักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
0.00

 

3 3 ผู้ที่ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ
ตัวชี้วัด : 3 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1 ผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อโควิด–19 ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (2) 2 ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลุ่มเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อ ได้รับการรักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (3) 3 ผู้ที่ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1 การประชุมชี้แจงเครือข่ายสุขภาพชุมชน และเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จำนวน 20 คน (2) 2 การจัดซื้อและการกระจายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสู่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 (3) 3 การประชาสัมพันธ์การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาติดเชื้อโควิด-19 (4) 4 การเคาะประตูบ้าน แนะนำการดูแลรักษา และการติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 64 – L7452 – 1 - 13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสัญญา ยือราน เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานเภสัชกรรม สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด