กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L8291-5-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,048.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภิญโญ จินตนปัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2186 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2366 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามประกาศพบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน เป็นเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบเป็นตระกูลเดียวกันกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) องค์การอนามัยโลกประกาศให้เป้นสถานการณ์แพร่ระบายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health Emergency of international Concern) เนื่องจากผู้รายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น และพบผู้ป่วยในหลายพื้นที่ ตลอดจนมีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คนภายในประเทศ สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก มีผู้ป่วยสะสม ๑๘๓,๓๙๙,๓๔๙ราย เสียชีวิต 3,971,119 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วย 264,832 ราย เสียชีวิต 2,080 ราย (ข้อมูล:กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 1 กรกฎาคม 2564) ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในช่วงเปิดภาคเรียนในสถานศึกษา สถานศึกษาได้จัดเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 นั้นจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนตามแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียน สถานศึกษาที่ประกาศโดยกรมควบคุมโรคได้กำหนดนิยามผู้ป่วยและผู้สัมผัส การเตรียมสถานศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน กิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันโรคเมื่อเปิดทำการเรียนการสอน การทำความสะอาดในโรงเรียน กิจกรรมเมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน และการแยกตัวอยู่บ้านของผู้ สัมผัสไม่มีอาการ ตามลิงค์เอกสารhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีภารกิจรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสุขภาพของนักเรียนขณะอยู่ในโรงเรียน จึงต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในโรงเรียน ในปัจจุบันมีจำนวน 60 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 2,186 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษารวมทั้งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน จำนวนรวม 180 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 -ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

-พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) น้อยกว่า 10 เปอเซ็นต์ ของนักเรียนและบุคลากรทั้งหมดในสถานศึกษา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2366 40,048.00 1 40,052.00
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2,366 40,048.00 40,052.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบ วิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลย่านตาขาว 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 รณรงค์ ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรค การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ดำเนินการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษารวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน 3.2 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid- 19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3.3 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19) ขณะเปิดเรียน 3.4 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกัน 3.5 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • โรงเรียนมีความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรการเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพสูงสุด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 10:33 น.