กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มประชาชนที่ยังไม่รับบริการ
รหัสโครงการ 64-L1523-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2565
งบประมาณ 299,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธัชชัย สุขยัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 230 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”      เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) โดยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงและมีการแพร่กระจายของโรคไปยังหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น โดยวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อ 14,150 ราย เสียชีวิต 118 ราย โดยยอดผู้ป่วยสะสม รวมทั้งสิ้น 426,828 ราย เสียชีวิตสะสม 4,264 ราย (ข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19)
จังหวัดตรัง พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 40 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,211 ราย และเสียชีวิตสะสม 5 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2564) เนื่องจากการระบาดของโรคโคโรนา 2019 ค่อนข้างกว้างขวางและรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทาง สปสช.เขต 12 สงขลา จึงจัดประชุมทาง zoom เพื่อการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยให้ใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นโดยให้สามารถใช้เงินกองทุนสุขภาพตำบลจัดหาและฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 ให้กับประชาชนที่ยังไม่ฉีดวัคซีนหรือผู้ลงทะเบียนประสงค์ที่จะฉีดแต่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ดังนั้นงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงมีความประสงค์จัดทำโครงการเร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มประชาชนที่ยังไม่รับบริการ เพื่อต้องการให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนได้รับการฉีดวัคซีนโควิด -19 (COVID-19) และเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างและเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนที่มีความประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  1. ร้อยละ 100 ของวัคซีนที่จัดซื้อได้นำมาใช้ในการสร้างและเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนที่มีความประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

3.วิธีดำเนินการ 3.1 ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 3.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ - เขียนขออนุมัติดำเนินโครงการ - ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ดำเนินโครงการ - สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มประชาชนกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการฉีดวัคซีนจำนวน 230 คน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 16:28 น.