กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1497-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 สิงหาคม 2564 - 20 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 30,070.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี สุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4026 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียมาช้านาน เนื่องจากโรคนี้มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งนำ้ขัง มีแนวโน้มการระบาดสูงในช่วงฤดูฝน และมีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ปัจจุบันพบผู่้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้เกิดผลเสียต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เนื่องจากรัฐฯจะต้องเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งในด้านการควบคุมป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลเมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น ซึ่งในแต่ละปี ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2563 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดดออก จำนวน 71,210 ราย อัตราป่วย 107.40 ต่อแสนประชาการ มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 52 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 จังหวัดตรัง ผู้ป่วยจำนวน 513 ราย อัตราป่วย 79.76 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย ตำบลนาโยงใต้พบผู้ป่วยจำนวน 14 ราย อัตราป่วย 300.00 ต่อแสนประชากร สำหรับปี 2564 (1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วจำนวน 4,878 ราย อัตราป่วย 7.37 ต่อแสนประชากร มีผู่เสียชีวิต 4 ราย จังหวัดตรังมีรายงานผู้ป่วยจำนวน 16 ราย อัตราป่วย 2.49 ต่อแสนประชากร สำหรับพื้นที่ตำบลนาโยงใต้ ข้อมูลทางระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564 ยังไม่รายงานการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ แต่มีแนวโน้มการเกิดโรคหลังจากนี้เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายจากแหล่งต่างๆ การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยื่น โดยประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ชมรม อสม.) ตำบลนาโยงใต้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประชาร่วมใจต้ายภัยไข้เลือดออก ประจำปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมไม่ให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก รายที่ 2 ภายใน 28 วัน หลังพบผู้ป่วยรายเเรกในหมู่บ้าน

ตัวชี้วัดที่ 1 หมู่บ้านควบคุมไม่ให้มีผู้ป่วยรายที่ 2 ภายใน 28 วัน หลังพบผู้ป่วยรายเเรก ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัดที่ 1 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกร้อยละ 100 ตัวชี้วัดที่ 2 ดัชนีชี้วัดความชุกของลูกน้ำยุงลาย (C.l) ในเเต่ละหมู่บ้าน ไม่เกิน 10.0

0.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในตำบลนาโยงใต้

ตัวชี้วัดที่ 1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลนาโยงใต้ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
10 ส.ค. 64 - 20 ก.ย. 64 ประชุมภาคีเครือข่าย 87 คน จำนวน 2 ครั้้ง 89 5,220.00 -
10 ส.ค. 64 - 20 ก.ย. 64 ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก 4026 5,250.00 -
10 ส.ค. 64 - 20 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์ในชุมชน 4026 19,600.00 -
รวม 8,141 30,070.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทุกหมู่บ้านสามารถควบคุม ไม่ให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก รายที่ 2 ภายใน 28 วัน หลังพบผู้ป่วยรายเเรกในหมู่บ้านนั้นๆ
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลนาโยงใต้ ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2564 10:28 น.