กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการต้านภัย โควิด-19 หมู่ที่ 5 บ้านหนองคล้า ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1497-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ม.5 ต.นาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 สิงหาคม 2564 - 20 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 3,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสราวุธ กรดศรีไหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ส.ค. 2564 20 ก.ย. 2564 3,970.00
รวมงบประมาณ 3,970.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 529 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคโควิด๑๙ คือโรคติดต่อ ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี้ ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี ๒๕๖๒ ขณะนี้โรคโควิด๑๙ มีการระบาดใหญ่ไปทั่วส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก ต้นตอของไวรัส น่าจะมาจากการที่ไวรัส จากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน ผู้ป่วยรายแรก เท่าที่ทราบกันเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วยหลายราย อาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ หรือก่อนหน้านั้น มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัส และพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ตลาดอาจเป็นต้นกําเนิด ของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของการระบาดในระยะเริ่มแรก   โรคโควิด๑๙ นี้โดยหลักแล้ว แพร่จากคนสู่คน ผ่านทางฝอยละอองจากจมูก หรือปากซึ่งขับออกมา เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป จากผู้ป่วยหรือจากการเอามือไปจับพื้นผิว ที่มี ฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้า ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะฟักตัว) มีตั้งแต่ ๑-๑๔ วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๕๖ วัน เกิน ๔๗% ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการภายใน ๑๔ วัน   จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือน ธันวาคม ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อแล้ว จํานวน ๑๘๔,๗๓๐,๒๔๓ คน มีรายงานผู้เสียชีวิตจํานวน ๔,๐๘๓,๐๐๓ ราย สําหรับประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ แล้ว จํานวน ๓๘๑,๔๐๗ คน ผู้เสียชีวิต จํานวน ๓,๐๐๕ ราย จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยจํานวน ๑,๘๐๐ ราย เสียชีวิต ๕ ราย ตําบลนาโยงใต้ พบผู้ติดเชื้อแล้วจํานวน ๕ ราย การดําเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด - ๑๙ ให้ประสบความสําเร็จ และ เกิดประสิทธิภาพนั้น จําเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตามคําแนะนํา ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-๑๙ ทั่วโลก ยังอยู่ในภาวะวิกฤต มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ และผู้เสียชีวิตทุกวัน การมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชน จะเป็นทางรอด ต่อการติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (ชมรม อสม.) หมู่ที่ ๕ บ้านหนองคล้า ตระหนักและเห็นความสําคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทําโครงการต้านภัย โควิด-๑๙ หมู่ที่ ๕ บ้านหนองคล้า ประจําปี ๒๕๖๔ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคโควิด-19 ในชุมชน

ตัวชี้วัดที่ 1 หมู่บ้านมีการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน โรคโควิด-19 ในชุมชน

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรุ้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน เเละควบคุมโรคโควิด-19

ตัวชี้วัดที่ 1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ร้อยละ 80 ตัวชี้วัดที่ 2 ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 541 3,970.00 0 0.00
20 ส.ค. 64 - 20 ก.ย. 64 ประชุม อสม. สำรวจและจัดทำทะเบียนผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง 12 720.00 -
20 ส.ค. 64 - 20 ก.ย. 64 จัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายอัตโนมัติแบบสแกนหน้าผากและฝ่ามือพร้อมขาตั้ง 0 2,500.00 -
20 ส.ค. 64 - 20 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคโควิด-19 ในชุมชน 529 750.00 -
  1. จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่าย เพื่อรับทราบสถานการณ์โรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  3. สำรวจและจัดทำระบบติดตามผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
  4. ประชาสัมพันธ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ในชุมชน
  5. เฝ้าระวัง ป้องกัน การติดเชื้อโรคโควิด-19 ในชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีการจัดระบบเฝ้าระวัง ติดตาม ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2564 10:53 น.