กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวสำหรับสังเกตอาการของกลุ่มผู้ป่วย ผู้เสี่ยงสัมผัส หรือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง โควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine ) เทศบาลตำบลโคกม่วง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งระบบกักตัวสำหรับสังเกตอาการของกลุ่มผู้ป่วย ผู้เสี่ยงสัมผัส หรือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง โควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine ) เทศบาลตำบลโคกม่วง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสหรัฐ ทองเพิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ส.ค. 2564 3 ส.ค. 2564 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7810 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ ๒๐๑๙ เป็นกลุ่มเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจในคน อาจมีอาการรุนแรงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ไตวายหรืออาจเสียชีวิตได้ เริ่มต้นที่ประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ และต่อมาได้พบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันรายแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้ประกาศ ให้โรคโควิด-๑๙ เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓
ด้วยสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากกว่าวันละ 10,000 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์ แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดสงขลา พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และกระจายไปยังหลายพื้นที่ จากการติดตามและสอบสวนโรคพบว่ามีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกลุ่มเสี่ยงในสถานประกอบการต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก การเลี้ยงสังสรรค์ จากจำนวนผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เทศบาลตำบลโคกม่วงจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 ภายใต้บังคับของกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประกอบพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาลฯ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่3/2564 หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข 0018.1 /ว. 2621 ลงวันที่ 15 เมษายน 2564 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ 1 – 55 / 2564 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุดที่ สข 0023.3/ ว. 409 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quaratine) และหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว. 1562 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2564  เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และทางจังหวัดได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine :LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากพื้นที่เสี่ยงขึ้น เทศบาลตำบลโคกม่วง  จึงจัดตั้งระบบกักตัวสำหรับสังเกตอาการของกลุ่มผู้ป่วย ผู้เสี่ยงสัมผัส หรือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง โควิด-19 ระดับพื้นที่(Local Quarantine ) เทศบาลตำบลโคกม่วง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งระบบกักตัวสำหรับสังเกตอาการของกลุ่มผู้ป่วย ผู้เสี่ยงสัมผัส หรือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง โควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine ) เทศบาลตำบลโคกม่วง

ร้อยละ 100 ของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  2. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสั่งการและแนวทางการเบิกจ่าย ฯลฯ
  3. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการฯ
  4. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ถุงยังชีพ สำหรับกลุ่มสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine)
  6. จัดหาสถานที่กักกันโรค(Local Quarantine) ในพื้นที่ตำบลโคกม่วง
  7. ดำเนินการปรับปรุงสถานที่กักกันโรค (Local Quarantine) ตำบลโคกม่วง(ณ เรือนรับรอง หลังวัดปลักคล้า ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา)
  8. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับผู้ถูกกักกันและเจ้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
  9. จัดเตรียมวัสดุทางการแพทย์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
  10. ลงพื้นที่ร่วมดำเนินการสอบสวนโรค ติดตามแนะนำการกักตัวในกลุ่มเสี่ยง
  11. ตรวจสอบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและคัดเลือกเข้าสถานที่กักกันโรค (Local Quarantine)
  12. จัดเจ้าที่ปฏิบัติงาน ณ สถานที่กักกันโรค (Local Quarantine) เพื่อติดตามอาการและรักษาความปลอดภัย
  13. ติดตามการดำเนินงาน
  14. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการดำเนินงานระบบกักตัวสำหรับสังเกตอาการของกลุ่มผู้ป่วย ผู้เสี่ยงสัมผัส หรือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง โควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine ) เทศบาลตำบลโคกม่วง
  2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการกักตัว 100 %
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2564 11:52 น.