กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลเชิงรุกที่บ้าน โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน หมู่ที่ 1 บ้านท่าปาบ
รหัสโครงการ 64-L1497-02-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ม.1 ต.นาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 10,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางขวัญฤทัย ประสิทธ์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 10,100.00
รวมงบประมาณ 10,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 239 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์ โรคความดันโลหิตสูง ในเเต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก
  กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคความดัน โลหิตสูงและเบาหวาน มีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ15 ปีขึ้นไปทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม การวัดความดันโลหิตการชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงต้องได้ได้รับการตรวจยืนยันความเสี่ยงต่อโรคโดยบุคลากรสาธารณสุขเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้ว   ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครและรณรงค์ค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ให้การดำเนินงานตรวจคัดกรอง ติดตามกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยงอย่างเข้มข้น และเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครได้รับการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิต/โรคเบาหวาน

อสม. ได้รับการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิต/โรคเบาหวาน ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิต/โรคเบาหวานอย่างรวดเร็วและครอบคลุม สามารถให้การดูแลรักษาไม่ให้เกิดโรค

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิต/โรคเบาหวาน ร้อยละ 95

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน ได้รับการตรวจรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถควบคุมภาวะของโรคได้ ร้อยละ 50

0.00
4 ดูแลกลุ่มเสี่ยงในการป้องกันภาวะเป็นโรค โดยดูแลระยะเข้มข้นที่บ้าน

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงวินิจฉัยเป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 10 และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวินิจฉัยเป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 244 10,100.00 0 0.00
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูความรู้เเละทักษะในการดำเนินงานของกลุ่ม อสม. 5 0.00 -
1 ส.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ตรวจสุขภาพคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 239 10,100.00 -
  1. นำเสนอแผนงานและโครงการ
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูความรู้เเละทักษะในการดำเนินงาน
  4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์
  5. ประเมินความเสี่ยงกลุ่มเป้าหมาย
  6. ส่งต่อรายที่ผลตรวจผิดปกติ
  7. ติดตามดูแล ตรวจซ้ำเชิงรุกที่บ้าน ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
  8. ประเมินผล / สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วย/ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. อสม. สามารถให้ความรู้และเเนะนำประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิต/โรคเบาหวาน ได้อย่างถูกต้อง
  3. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยสามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้โดยการติดตามระยะเข้มข้นของชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2564 13:16 น.