กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บ่อแดง


“ โครงการป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID) ”

ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวเรวดี ธรรมมิกะกุล ตำแหน่งหัวหน้าสำนักปลัด

ชื่อโครงการ โครงการป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID)

ที่อยู่ ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 สิงหาคม 2564 ถึง 20 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID) จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บ่อแดง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 สิงหาคม 2564 - 20 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 98,488.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บ่อแดง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในประเทศไทยยังคงพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรค โดยมีการค้นหาผู้ติดเชื้อ ดูแลรักษา แยกกัก การกักตัว จากรายงานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 615,314 ราย รักษาหายแล้ว 405,322 ราย เสียชีวิต 4,896 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ -1 สิงหาคม 2564) และในเขตพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบผู้ติดเชื้อ จำนวน 309 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2564)
จาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดง ได้ดำเนินขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ่อแดง เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการรณรงค์และป้องกันแก้ไขกรณีโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรครวมถึงปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคโดยการล้างมือโดยใช้เจลล้างมือแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ รวมถึงได้ลงพื้นที่เพื่อมอบหน้าหน้ากากอนามัยและสเปรย์แอลกอฮอล์ และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์แนวทางการปฏิบัติตนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว

ในช่วงเดือนมิถุนายน หลายตำบลในอำเภอสทิงพระ พบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลบ่อแดงพบผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนหลายรายจากกลุ่มโรงงานแคนนิ่ง โรงงานคิงฟิชเชอร์ บริษัทวนาวัฒน์ ตามลำดับ โดยพบผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 81 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2564) ตั้งแต่เดือน มิถุนายน - เดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 และพบกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำอีกเป็นจำนวนมาก โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดงได้ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคตามแนวทางที่กำหนดโดยถือปฏิบัติพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4)ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16(19) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล

จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ซึ่งยังมีการแพร่ระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดง ต้องมีมาตรการโดยเร่งด่วนในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา นอกจากส่งผลต่อสุขภาพประชาชนแล้ว ยังจะส่งผลต่อสภาพจิตใจ คุณภาพชีวิต ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชาชนขาดรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดง จึงมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือประชาชน โดยการมอบหน้ากากอนามัยและสเปรย์แอลกอฮอล์หรือเจลแอลกอฮอล์เพื่อปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรค โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดง ได้ใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดงไปแล้วในการป้องกันควบคุมและโรค เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งศูนย์กักกันกลุ่มเสี่ยงสูง ค่าใช้ใช้จ่ายในการจัดซื้อถุงดำรงชีพให้กับกลุ่มเสี่ยงต่ำที่กักตัวที่บ้าน กลุ่มผู้ป่วยที่รักษาตัวหายแล้วแต่จำเป็นต้องกักตัวตามคำสั่งคณะกรรมการควบคุมโรคตำบลบ่อแดง เงินอุดหนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามให้กับโรงพยาบาล สทิงพระ ทั้งนี้ยังขาดงบประมาณในการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องดังกล่าว

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมีมาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ ไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย ประชาชนในพื้นที่ ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรค ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) เท่านั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดงจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวข้างต้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อจัดหาหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่ระบาดขึ้นในเป็นระลอกใหม่ 2.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเริ่มจากตนเอง 3.สร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้้อไวรัสโคโรนา 2019

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์ล้างมือ สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส  โคโรนา 2019 (COVID-19) 2.ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด โดยเริ่มจากตนเอง
3.ลดและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้้อไวรัสโคโรนา 2019

วันที่ 16 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

-จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 -ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 -ดำเนินโครงการตามวัน เวลาที่กำหนด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-กิจกรรมป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 1.จัดซื้อหน้ากากอนามัย ขนาด กล่องละ 50 ชิ้น  จำนวน 1,400 กล่อง 2.จัดซื้อสเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 100 ML  จำนวน  1,400 กล่อง 3.จัดซื้อเจลแอลกอฮอล์ ขนาด 500 มล.  จำนวน 24 ขวด 4.จัดซื้อสเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 1,000 มล. จำนวน 24 ขวด 5.จัดจ้างทำป้ายไวนิล ขนาด 1.2x2.4 เมตร  จำนวน 1 ป้าย -กิจกรรมลงพื้นที่สร้างความตระหนักในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

1,400 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อจัดหาหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่ระบาดขึ้นในเป็นระลอกใหม่ 2.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเริ่มจากตนเอง 3.สร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนมีความตระหนักในการสวมหน้ากากอนมัยที่ถูกต้อง 2.ลดและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดขึ้นเป็นระลอกใหม่
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1400
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อจัดหาหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่ระบาดขึ้นในเป็นระลอกใหม่      2.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเริ่มจากตนเอง 3.สร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้้อไวรัสโคโรนา 2019

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกันกรณีเกิดโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID) จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวเรวดี ธรรมมิกะกุล ตำแหน่งหัวหน้าสำนักปลัด )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด