กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนปากล่อร่วมใจฉีดวัคซีนป้องกันภัยโควิด 19
รหัสโครงการ 64-PKL-05-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลปากล่อ
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 สิงหาคม 2564 - 13 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2564
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอซือนะ โตะมอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ส.ค. 2564 13 ส.ค. 2564 9,600.00
รวมงบประมาณ 9,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโครน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้  สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้อยแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย 10 % และในตำบลปากล่อมีผู้ติดเชื้อถึง 102 ราย เสียชีวิต 4 ราย
ประกอบกับประชาชนยังได้รับวัคซีนน้อยเพียงร้อยละ 30.25
      ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19ในเรื่องการฉีดวัคซีนเชิงรุก นั้นถือว่าจำเป็นอย่างยิ่ง อสม.ตำบลปากล่อจึงได้เสนอแนวทางการฉีดวัคซีนเชิงรุกให้แก่หน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งได้รับการตอบรับว่าเป็นแนวทางที่ดี ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการประชาชนปากล่อร่วมใจฉีดวัคซีนป้องกันภัยโควิค ขึ้นมาในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

. วิธีดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมแกนนำเฝ้าระวังโรคและการเคาะประตูบ้าน กิจกรรมที่ 2 ลงเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้กับประชาชนพร้อมเชิญชวนมาฉีดวัคซีน กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการฉีดวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่ กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนมีมีความเข้าใจเรื่องโรค Covid-19
2 ประชาชนติดเชื้อ Covid-19 ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 14:43 น.