กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลคลองขุด
รหัสโครงการ L5300-64-5-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 84,814.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเกศวรางค์ สารบัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในตำบลคลองขุด ขณะนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 สะสม จำนวน 11 ราย รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 3 ราย ไม่มีผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต ยังคงรักษาตัว จำนวน 8 ราย (ข้อมูลจาก : ศูนย์ปฏิบัติการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลคลองขุด 5 สิงหาคม 2564)
จากข้อมูลการรายงานเห็นได้ว่าสถานการณ์การระบาดในตำบลคลองขุด มีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังและดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามหลักการควบคุมป้องกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนั้น การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องสร้างความรู้ ความตระหนักใน การปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมและใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี
การใช้สบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ในการล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจมาจากกการสัมผัส การทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการหรือพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันและทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานาน โดยมีกระบวนการให้ความรู้ คำแนะนำต่อกลุ่มเป้าหมาย การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ และมาตรการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างหนึ่ง คือ การกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยการกักตัว หรือคุมไว้สังเกตจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อโรค และในปัจจุบัน พบว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เกิดขึ้นภายในครอบครัวเป็นส่วนมาก เนื่องจากผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่กักตัว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด จึงเห็นควรให้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค และเป็นการจัดกระบวนการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการระบาด หากไม่มีการป้องกันอย่างเข้มข้นและทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

70.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 20000 84,814.00 2 625.00
6 ส.ค. 64 กำหนดมาตรการและดำเนินการจัดการด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 20,000 84,189.00 0.00
13 ส.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมวางแผนมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามสถานการณ์ในพื้นที่ในขณะนั้น ๆ 0 625.00 625.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล  คลองขุด 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 ประชุมวางแผนมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามสถานการณ์ในพื้นที่ในขณะนั้น ๆ
3.2 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
        3.3 กำหนดมาตรการและดำเนินการจัดการด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
4.สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ 2. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อให้ประชาชน ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และยังสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2564 10:15 น.