กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการศพ ลดการแพร่กระจายเชื้อ(โควิด-๑๙)
รหัสโครงการ L ๓๐๕๙ - ๖๔ - ๑ - ๐๖
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 สิงหาคม 2564 - 27 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2564
งบประมาณ 17,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อับดุลการิม กะมะ ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัสมิน ฮายีนิเงาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.649,101.599place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ส.ค. 2564 27 ส.ค. 2564 17,320.00
รวมงบประมาณ 17,320.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการอิสลามมีความเชื่อว่าพระเจ้า(อัลลอฮ์) เป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นในโลก โดยกำหนดเวลาเกิด เวลาตายไว้ให้แล้ว มนุษย์มีหน้าที่ต้องเคารพ ศรัทธา สักการะอัลลอฮ์ด้วยการทำความดี นอกจากนี้ยังเชื่อเรื่องโลกหน้าว่าเป็นโลกแท้จริงที่พึงปรารถนา เป็นชีวิตที่จีรัง ยั่งยืน ชีวิตในโลกนี้เป็นเพียงทางผ่านสู่โลกหน้าเท่านั้น ความตายจึงไม่ใช่การสิ้นสุดชีวิตแต่เป็นการย้ายชีวิตจากโลกนี้ไปยังโลกหน้าที่สุขสบายกว่า ยั่งยืนกว่า ศาสนาอิสลามจึงสอนให้มนุษย์ระลึกถึงความตายอยู่เสมอจะได้ไม่ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดีและอดทนต่อความทุกข์ ความเจ็บป่วยที่ผ่านเข้ามา เพราะนั่นเป็นเพียงบททดสอบถึงความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า ผู้ที่ท้อแท้ สิ้นหวังกับชีวิตพึงระลึกไว้เสมอว่าพระเจ้าเป็นที่พึ่ง และทรงมีเมตตาให้อภัยมนุษย์เสมอ ดังนั้น มนุษย์จึงควรทำความดีเพื่อจะได้ใช้ชีวิตในโลกหน้าอย่างมีความสุข เมื่อมุสลิมเสียชีวิตญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องอาบน้ำ ห่อละหมาดขอพรและฝังศพที่สุสาน(กุโบร์) โดยต้องรีบจัดการให้เสร็จภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งขั้นตอนการอาบน้ำและห่อผู้เสียชีวิตนั้นจะทำกันที่บ้านของผู้เสียชีวิต และมักจะไม่มีการป้องกันอย่างถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ เช่น ไม่มีการสวมถุงมือยาง ไม่มีการสวมผ้าปิดปาก ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ เป็นต้น       ดังนั้น ทางอบต.มะนังดาลำ จึงได้เล็งเห็นปัญหาสำคัญนี้ จึงได้จัดโครงการให้ความรู้ลดการแพร่เชื้อจากการจัดการศพ โดยใช้หลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ และการจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ/ตามหลักศาสนาอิสลาม ลดการแพร่เชื้อที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคติดต่อในการจัดการศพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพของแต่ละชุมชน/มัสยิด มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อในการจัดการศพ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพตามหลักอิสลาม ข้อที่ 2 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ/ตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

๑.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อในการจัดการศพได้อย่างถูกต้อง

๒.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 17,320.00 0 0.00
26 ส.ค. 64 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการอาบน้ำศพตามหลักศาสนาอิสลาม (ตามหลัก DMHTT) 30 17,320.00 -
27 ส.ค. 64 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการอาบน้ำศพตามหลักศาสนาอิสลาม (ตามหลัก DMHTT) 30 0.00 -

๑. ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
๒. จัดทำโครงการและเสนอพิจารณาอนุมัติ ๓. ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม
๔. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพของแต่ละชุมชน/มัสยิด มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อในการจัดการศพ สามารถป้องกันการแพร่เชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ ๒. ทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพของแต่ละชุมชน/มัสยิด มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ/ตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2564 14:20 น.