กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 60-L5239-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลดีหลวง
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางละเอียด มากมี
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส หวังมณีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.58,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 89 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของอำเภอสทิงพระ ส่วนมากจะพบในเด็กอายุ 5-14 ปี โดยยุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคไข้เลือดออกจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนของทุกปี ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสทิงพระ ณ วันที่ 1 มกราคม 2559-29 ธันวาคม 2559 พบว่าจังหวัดสงขลามีจำนวนผู้ป่วย 5,232 ราย อัตราป่วย 372.14 ต่อแสนประชากร จำนวนเสียชีวิต 11 ราย อัตราตาย 0.21 อำเภอสทิงพระ จำนวนผู้ป่วย 51 ราย อัตราป่วย 104.42 ต่อแสนประชากร จำนวนเสียชีวิต 0 ราย อัตราตาย 0.00 ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด คือ อัตราป่วยไม่เกิน 50 จ่อแสนประชากร สำหรับตำบลดีหลวง จำนวนผู้ป่วย 2 ราย(หมู่ที 6 จำนวน 1 ราย และหมู่ที่ 8 จำนวน 1 ราย) อัตราป่วย 71.71 ต่อแสนประชากร จำนวนเสียชีวิต 0 ราย อัตราตาย 0.00 จากการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ดำเนินการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย งวดสุดท้ายเมื่อ พฤศจิกายน 2559 พบว่า จำนวนบ้านที่สำรวจ 847 หลัง บ้านที่พบ 157 หลัง ค่า HI = 18.54 ภาชนะที่สำรวจ 3,877 ภาชนะที่พบ 264 ค่า CI = 6.81 ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด หากค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ประมาณว่าแนวโน้มที่จะเกิดโรคไข้เลือดออกสูง ประกอบกับตำบลชุมพล พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย และตำบลสนามชัย พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นตำบลที่ติดต่อกับตำบลดีหลวง มาตรการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยปลากินลูกน้ำยุงลาย จึงเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่สำคัญและยั่งยืน ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย ดังนั้น คณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลดีหลวง จึงได้ทำโครงการธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และค่า CI = 0

1.ค่า HI ไม่เกิน 10 2.ค่า CI = 0

2 เพื่อให้มีจุดสาธิตธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย

จำนวนจุดสาธิตธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย หมู่บ้านละ 10 จุด รวมทั้งสิ้น 80 จุด

3 เพื่อให้ประชาชนมีการกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยวิธีการปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะอุปโภคเพิ่มขึ้น

จำนวนหลังคาเรือนที่มีการกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยวิธีปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะอุปโภค เปรียบเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุม อสม.เพื่อจัดทำโครงการ 2.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 3.ประชุม อสม.ทุกคน เพื่อแต่งตั้งคณะทำงาน/ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงานตามโครงการ 4.สำรวจและจัดทำทะเบียนหลังคาเรือน ที่มีการกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยวิธีการปล่อยปลากินลูกน้ำยุงลายในภาชนะอุปโภค
5.จัดซื้อวัสดุ ได้แก่ อ่างเลี้ยงปลา ปลากินลูกน้ำยุงลาย อาหารปลา ไฟฉายพร้อมถ่าน 6.คณะทำงานจับสลากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและบ้านประชาชน และมอบอ่างเลี้ยงปลา ปลากินลูกน้ำยุงลาย อาหารปลา จำนวนหมู่บ้านละ 10 คน เพื่อเป็นจุดสาธิตธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย 7.คณะทำงานมอบไฟฉายให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 89 คน เพื่อใช้ในการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ 8.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกคน นำปลาจากจุดสาธิตธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย ไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ 9.คณะทำงานจัดทำทะเบียนเครือข่ายที่สมัครใจเป็นจุดสาธิตธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย ที่มีความพร้อมในการเลี้ยงปลากินลูกน้ำยุงลาย และมอบปลากินลูกน้ำยุงลาย พร้อมอาหารปลา 10.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกคน สำรวจค่า HI และ CI ในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ 11.ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ดีหลวง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 2.อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 0 3.ลดการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคไข้เลือดออก 4.ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2560 15:55 น.