กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ และป้องกันโรคติดต่อ (ส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก)
รหัสโครงการ 64- L4138 – 05 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลยะลา
วันที่อนุมัติ 23 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 สิงหาคม 2564 - 26 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 6,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอินดรา หามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก Coronavirus disease 2019 เป็นตระกูลเดีนวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตะกูลเดียวกันกับโรคซาร์สและเมอร์ส     จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID 19) พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องและผู้ติดเชื้อได้กระจายตัวออกไปในหลายพื้นที่อย่างรวดเร็ว และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา ที่ร้ายแรงไม่แพ้กรุงเทพฯและปริมณฑล กระทั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ในส่วนของจังหวัดยะลาอยู่ในพื้นที่สถานการณ์ “พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด” จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน ประกอบกับข้อมูลการได้รับวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จำนวนร้อยละ 15.48 ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 จำนวนร้อยละ 19.72 หมู่ที่ 2 จำนวนร้อยละ 13.95 และหมู่ที่ 3 จำนวนร้อยละ 12.02 ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่     เพื่อเป็นการป้องกันการะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสำคัญ คือ การเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในพื้นที่ ดังนั้นโรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลยะลาจัดโครงการรณรงค์ และป้องกันโรคติดต่อ (ส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก) ขึ้น เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลยะลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก ในพื้นที่

ร้อยละของประชาชนในพื้นที่ตำบลยะลาสามารถเข้าถึงบริการฉีดวัคซีน

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมให้เกิดการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก ในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

23 - 26 ส.ค. 64 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0.00 0.00 -
26 ส.ค. 64 ฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก 100.00 6,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. เขียนโครงการเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ
  2. การประชุมและวางแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. การประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. การดำเนินโครงการ   5.1 ฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ให้กับประชาชนในพื้นที่ 5.2 แจกไข่ไก่และข้าวสารสำหรับประชาชนที่มารับบริการฉีดวัคซีน
  6. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ในพื้นที่
  2. ประชาชนเกิดความตระหนัก และให้ความสำคัญในการฉีดวัคซีนโควิด-19
  3. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19
  4. เกิดการประสานงาน และความร่วมมือที่ดีต่อกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2564 13:07 น.