กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต โดยใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ชุมชนบ้านตันหยงกาโบย หมู่ที่ 2 ตำบลปูยู
รหัสโครงการ 02022560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิดบ้านตันหยงกาโบย
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 กันยายน 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยาหยา ปุนยัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาสนาชื่นจิต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูยู อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.517,100.124place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (30,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยที่ผันแปรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชากรต้องดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบ เนื่องจากมีการแข่งขันสูง ทำงานแข่งกับเวลา และค่าครองชีพสูงทำให้เกิดความเครียด ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ความสะดวกสบาย อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานจะมีภาวะเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียดมากที่สุด ไม่มีเวลาในการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนในชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความขับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลงมีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้น และหากคนในชุมชนไม่ได้รับการดูแลใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งส่งเสริมให้คนในชุมชนมีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังแยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ จึงควรส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดการบำรุงรักษาสภาพจิตใจของตนเองให้เข้มแข็งสมบูรณ์อยู่เสมอ การใช้ชีวิตในชีวิตอยู่ในสังคมของมนุษย์จะต้องประสบทั้งความทุกข์และความสุขปะปนกันไป ดังนั้นการมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็งย่อมจะสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้ดียิ่งขึ้น จึงควรมีวิธีการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักและทำความเข้าใจตัวเองให้ดีที่สุด ฝึกทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส มองโลกในแง่ดี หาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยึดถือคำสอนในศาสนาที่ตนเองนับถือ เพราะคำสอนในศาสนาจะเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งจิตใจให้สงบ เยือกเย็น มีสติปัญญา ไม่หลง โกรธ มัวเมาในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ สุขภาพจิตก็จะดีอยู่เสมอ และเมื่อมีปัญหาหรือความเครียดทางจิตใจควรหาโอกาสผ่อนคลายด้วยการฝึกบริหารจิตใจ ฝึกทำสมาธิ ทำจิตใจให้เข้ม สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล
ดังนั้นทางมัสยิดจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์สุขของประชาชนในการเห็นความสำคัญถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี รวมทั้งได้มีการจัดกิจกรรมโดยการนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนาอิสลามมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดี มีศีลธรรม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่ออบรมให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต

 

2 2.เพื่อลดอัตราเสี่ยงที่เกิดความเครียด

 

3 3.เพื่อสร้างความตระหนักในการสร้างสุขภาวะจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางจิตวิญญาน

 

4 4.เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาพจิต

 

5 5.เพื่อให้ประชาชนรู้จักแก้ไขปัญหาต่างๆได้ย่างมีประสิทธิภาพ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกตืสุข

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการ
  2. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. ดำเนินงานตามโครงการ
  5. ติดตามผลเพื่อประเมินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต
  2. สามารถลดอัตราเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด
  3. สามารถสร้างความตระหนักด้านสุขภาวะจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
  4. ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาพจิต
  5. ประชาชนสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2560 13:44 น.