กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กบ้านไร่ เติบโตสมวัย ปลอดภัยสมบูรณ์
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านไร่
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 52,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 136 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 164 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะสูงดีสมส่วน
70.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
20.00
3 นักเรียน ครู และผู้ปกครอง รู้จักเลือกบริโภคอาหาร และวิธีการประกอบอาหารที่ปลอดภัย
50.00
4 เพิ่มพื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนและชุมชน
30.00
5 นักเรียนโรงเรียนบ้านไร่มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร”จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหาร และโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุโดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 4 – 12 ปี เป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมของพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่างๆที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้กำหนดให้เด็กซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ช่วยกันดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อช่วยให้เด็กได้มีอาหารการกินที่ดีมีคุณค่าทางอาหาร และได้ปริมาณครบถ้วน ส่วนใหญ่เด็กมีปัญหาเรื่องความผอม ไม่สมสัดส่วน ซึ่งมีความจำเป็นต้องดูแล แก้ไข เอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้ให้มีภาวะโภชนาการที่ดีต่อไปโดยทางโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 136 คน ทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียน เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารเช้า ส่วนผลิตที่เหลือนำมาขายให้กับผู้ปกครองในชุมชน และทางโรงเรียนจะเปลี่ยนจากพื้นที่ว่างเปล่า ทำให้เกิดประโยชน์ ปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกฝนทักษะในการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเองและพัฒนาอาชีพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะสูงดีสมส่วน เพิ่มขึ้น

70.00 70.00
2 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

20.00 20.00
3 เพื่อให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง รู้จักเลือกบริโภคอาหาร และวิธีการประกอบอาหารที่ปลอดภัย

นักเรียน ครู และผู้ปกครอง รู้จักเลือกบริโภคอาหาร และวิธีการประกอบอาหารที่ปลอดภัย

50.00 50.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนและชุมชน

พื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนและชุมชนเพิ่มขึ้น

20.00 30.00
5 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านไร่มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

นักเรียนโรงเรียนบ้านไร่มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

30.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,310.00 0 0.00
1 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงานครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไร่ 0 1,260.00 -
1 ส.ค. 63 - 31 ต.ค. 63 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ 0 10,500.00 -
1 ก.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 การเพาะเห็ดนางฟ้า 0 14,300.00 -
1 ก.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 0 8,400.00 -
1 ก.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 การปลูกผักปลอดสารพิษ 0 5,850.00 -
1 ก.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 อาหารเช้าปลอดภัยในโรงเรียน 0 12,000.00 -
1 ธ.ค. 63 - 31 มี.ค. 64 การติดตามและประเมินผล 0 0.00 -
1 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 คืนข้อมูลด้านสุขภาพให้แก่ผู้ปกครอง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้
  2. นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหาร และวิธีการประกอบอาหารที่ปลอดภัย
  3. นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
  4. โรงเรียนและชุมชนเป็นโรงเรียนปลอดสารพิษ และชุมชนปลอดสารพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 00:00 น.