กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)
รหัสโครงการ L3015-64-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บาราเฮาะ
วันที่อนุมัติ 27 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีดะห์ มะเกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.829,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออก ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศระบุว่าตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราว ที่13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัดเนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุข ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดปัตตานีอยู่ในเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อโควิด19 ของตำบลบาราเฮาะ มีผู้ติดเชื้อจำนวน    338 คน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรักษา จำนวน 60 คน และหายดีกลับบ้านได้แล้ว จำนวน 278 คน และมีมาตรการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังในสถานที่กลางที่จัดตั้งขึ้น State Quarantine จำนวน - คน กักตัวที่พักอาศัยของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งมีการคัดกรองโดยทีมสอบสวนโรค Home Quarantine จำนวน 80 คน ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ ได้มีความร่วมมือกับหน่วยบริการในพื้นที่โดยมีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พักคอย Community Isolation และ Home Isolation เพื่อรองรับกับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้ ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและองค์การเภสัชกรรมร่วมกันจัดหาชุด ATK เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปให้ประชาชนในการตรวจคัดกรองตนเองและตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ยังอยู่ในช่วงการจัดหาและจัดระบบการกระจายซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกพอสมควร ซึ่งอาจไม่ทันต่อการระงับยับยั้งตามสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564  องค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน 2. เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19 3. สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ อปท.ร่วมกับหน่วยบริการและเครือข่ายสุขภาพในชุมชน 1. ประชุมสมาชิก(ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) จนท.หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 นำไปดำเนินการตามโครงการ 2. อปท.ออกคำสั่งแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม./แกนชุมชน/และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ โดยการดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง 3. อปท.กำหนดพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง โดยร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่ ประสานรายชื่อผู้เสี่ยงสูงและประเมินความเสี่ยงของบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกำหนดให้เข้าสู่การตรวจคัดกรองเชิงรุก จากหน่วยบริการสาธารณสุข จัดทำทะเบียนผู้รับการคัดกรองประกอบด้วยข้อมูล ชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน วันที่ตรวจ (ควรจัดเก็บด้วย Excel เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบภายหลัง) ผู้เข้ารับการคัดกรอง ATK ด้วยเงิน กปท.หรือเงินจากงบประมาณของ อปท. หน่วยบริการไม่สามารถนำไปออกแทนเพื่อรับค่าคัดกรอง ATK จาก สปสช.อีก 4. จัดตั้งทีมกระจายความรู้ป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยในหนึ่งทีมประกอบด้วย อสม. จำนวน 2 – 3 คน และผู้เกี่ยวข้อง ในการรับผิดชอบให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ณ ที่พักอาศัย
5. แกนนำชุมชน อสม. หรือผู้เกี่ยวข้องออกกำกับติดตามเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง    โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการป้องกันโรค
6. มีการติดตาม หรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3-5 วัน      หากมีอาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้ง อสม. รพ. สต. รพ. เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ 7.หากมีพบผลการตรวจ ATK เป็นบวก ให้พิจารณาประสานหน่วยบริการในการเข้าระบบ Community Isolation หรือ Home Isolation เพื่อการดูแลรักษาตามมาตรฐานต่อไป 8. มีมาตรการทางสังคม ประชาชนร่วมกันสังเกตผู้มาจากพื้นที่เสี่ยงสูง รายงานผู้รับผิดชอบ เพื่อรับการคัดกรองด้วย ATK ประสานเข้าระบบกักกัน กรณีมีผลเป็นลบ และสร้างความเข้าใจในการกักกันตัวเพื่อลดความกังวลจากประชาชนในชุมชน หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพจิตชุมชน 9. สรุปผลดำเนินงานโครงการนำส่งคณะกรรมการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19
  3. มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ