กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด-19เชิงรุก
รหัสโครงการ 64 – L4135 – 05 – 03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบุดี
วันที่อนุมัติ 27 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 สิงหาคม 2564 - 3 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซูการ์นอ มะตีมัน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ที่ร้ายแรงไม่แพ้กรุงเทพฯและปริมณฑล กระทั่งรัฐบาลต้องประกาศมาตรการพิเศษเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่เริ่มขยับทำโครงการจัดหาวัคซีนเอง เพื่อนำมาฉีดคนในพื้นที่       การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้ มาตรการ ป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้นๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้ ดังนั้นเทศบาลตำบลบุดี ร่วมกับ อำเภอเมืองยะลา สาธารณสุขอำเภอเมืองยะลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ ทั้ง 2 แห่ง ได้จัดโครงการรณรงค์ส่งเสริมการฉีดวัคซีนเชิงรุก (นอกสถานที่) สำหรับประชาชนในพื้นที่ตำบลบุดี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่และเฝ้าระวังควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเพื่อสนับสนุนมาตรการหลักของรัฐรับมือกับแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก

ร้อยละ 90 ของประชาชนในตำบลสามารถเข้าถึงบริการฉีดวัคซีน

0.00
2 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ในการเฝ้าระวังควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละ 70 ของผู้ได้รับการฉีดวัคซีนมีภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 710 29,100.00 4 29,100.00
31 ส.ค. 64 การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดงาน 0 10,850.00 10,850.00
31 ส.ค. 64 ทำความสะอาด Big Cleaning Day สถานที่ฉีดวัคซีน 60 1,500.00 1,500.00
1 ก.ย. 64 ประชุมซักซ้อมเตรียมความพร้อมการจัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เชิงรุก 50 1,250.00 1,250.00
2 ก.ย. 64 การจัดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก (นอกสถานที่) 600 15,500.00 15,500.00
  1. ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหารือเตรียมความพร้อมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานที่   2. ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามแผนฯ
      3. ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และกำหนดสถานที่ในการจัดเตรียมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
      4. ดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ แก่ประชาชนในการเข้าร่วมฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ อสม. ผู้นำชุมชน หน่วยบริการสาธารณสุข (รพ.สต.) ในพื้นที่ และอิหม่ามมัสยิด   5. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ ในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) นอกสานที่   6. จัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) แก่ประชาชน นอกสถานที่   7. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ตำบล สามารถเข้าถึงหรือรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ร้อยละ 90
  2. ประชาชนมีภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2564 00:00 น.