กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการดูแลผู้มีความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ศูนย์กักตัว/คุมไว้ สังเกตอาการฯ และในชุมชน เทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้มีความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ศูนย์กักตัว/คุมไว้ สังเกตอาการฯ และในชุมชน เทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 สิงหาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ส.ค. 2564 31 ธ.ค. 2564 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ตลอดจนประเทศไทย” กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และในประเทศไทยมีการระบาดของโรคมากขึ้นโดยพบผู้ป่วยมากขึ้นเป็นทวีคูณในช่วงเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา  จากการรายงานสถานการณ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 1,009,710 ราย รายใหม่ 19,851 ราย และมีผู้ป่วยเสียชีวิต ทั้งสิ้น 19,851 ราย สำหรับจังหวัดสงขลาผู้ป่วยระลอกที่ 3 (1 เม.ย. – 20 ส.ค.64) พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 17,376 ราย และอำเภอสะเดา พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,018 ราย ในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ พบผู้ป่วยสะสม 41 ราย และพบกลุ่มเสี่ยงผู้มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังสะสมรวม  101 ราย ซึ่งผู้สัมผัสเสี่ยงสูงบางท่านไม่มีที่พักอาศัยแยกจากครอบครัว พักเฝ้าระวังสังเกตอาการที่สถานที่กักตัว/คุมไว้สังเกตของเทศบาลตำบลคลองแงะ (Local  Quarantine) และคุมไว้สังเกตการที่บ้าน (Home  Quarantine) ทั้งนี้ทั้งนั้นโดยการพิจารณาของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ในการพิจารณาการเข้ากัก และยังพบผู้ป่วยโควิด-19 และผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) เทศบาลมีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ และกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2560 ข้อ 13 กำหนดว่า เมื่อเกิดโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคดังกล่าว ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการหรือสนับสนุนให้มีการป้องกัน การควบคุม การแพร่ และการระงับการระบาดของโรคนั้น หรือสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงรวมทั้งประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ การช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เกิดการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ และประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2563 ข้อ 10/1 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ10 ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงาน สำหรับเทศบาลตำบลคลองแงะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมและแหล่งเศรษฐกิจในเขตอำเภอสะเดา พบผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดหาครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ อาหาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลผู้มีความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานที่กักตัวในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและในชุมชน

มีครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ อาหาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลผู้มีความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานที่กักตัวในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและในชุมชนเพียงพอ 100%

0.00
2 เพื่อการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้มีความเสี่ยง ลดกระจายเชื้อไปสู่ครอบครัวและชุมชน

ไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 จัดเตรียมสถานที่กักตัวรวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
27 ส.ค. 64 จัดเตรียมสถานที่กักตัวรวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข 0 0.00 -
2 ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
27 ธ.ค. 64 ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 0 0.00 -
3 จัดทำมาตรการทำความสะอาดเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19 ในสถานที่กักตัว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 100,000.00 1 100,000.00
27 ส.ค. 64 จัดทำมาตรการทำความสะอาดเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19 ในสถานที่กักตัว 0 100,000.00 100,000.00
  1. เปิด EOC ติดตามสถานการณ์ผู้ป่วย จัดสรรทรัพยากร กำลังคน ควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัส        โคโรนา 2019

  2. จัดทำโครงการและเสนอขออนุมัติ

    ขั้นดำเนินการ

  3. จัดเตรียมสถานที่กักตัวรวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

  4. จัดหาครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในสถานที่กักตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและในชุมชน

  5. จัดจัดบริการกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน สำหรับผู้กักตัวในสถานที่กักตัวและในชุมชน

  6. จัดทำมาตรการทำความสะอาดเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19 ในสถานที่กักตัว

  7. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

  8. รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงในพื้นที่ ได้รับการดูแล เฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2564 15:57 น.