กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการจัดซื้อเครื่องจ่ายเเอลกอฮอล์อัตโนมัติพร้อมวัดอุณหภูมิในตัวในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดซื้อเครื่องจ่ายเเอลกอฮอล์อัตโนมัติพร้อมวัดอุณหภูมิในตัวในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคลองทรายขาว
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยินดี รัตนานุกูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.423,99.921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางสถานการณ์ “ประเทศไทย” กำลังเผชิญการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 กระจายออกไป “ครบทุกจังหวัด” อย่างหนักหน่วงกว่าที่เคยเจอมา “ผู้ติดเชื้อครอบคลุมทุกเพศทุกวัย” สูงขึ้นทวีคูณ สาเหตุเป็นเช่นนี้เชื่อว่า “เป็นการระบาดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ” สามารถกระจายได้เร็วมากยิ่งกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ทั้งใน “เขตเมือง” ก็คงเคลื่อนย้ายออกจากบ้านตะลอนท่องเที่ยว พบปะสังสรรค์ไปมาหาสู่ทำธุระปะปังเสมือนปกติอยู่มากมายอันเกิดจาก “มาตรการผ่อนปรน” ให้ประชาชนใช้ชีวิตสะดวกยิ่งขึ้น แต่ไม่อาจ “กำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเคร่งครัดเพียงพอ” ทั้งควบคุมผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงไม่ได้ จนเข้าปะปนสัมผัส “กลุ่มเสี่ยงต่ำ” กว่าจะรู้ตัวติดเชื้อก็ลุกลามออกไปเป็นวงกว้างมากแล้ว กลายเป็น “ติดเชื้อจากการใช้ชีวิตประจำวัน” นำเชื้อโรคเข้าสู่ “คนในครอบครัว” ทำให้มีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงหลักพันคนต่อวัน























      ตามรายงานของไทยพีบีเอสออนไลน์ เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2564 ได้ตรวจสอบข้อมูลที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานแนวโน้มสถานการณ์ติดเชื้อ COVID-19 ระลอก 3 ในเดือนเม.ย.นี้ พบว่า เพียง 3 สัปดาห์ระหว่างวันที่ 1-22 เม.ย.นี้ ตัวเลขการติดเชื้อสะสมระลอกใหม่ มีผู้ป่วย 19,250 คน ขณะที่ตัวเลขการเสียชีวิตในรอบ 22 วัน พบมีผู้เสียชีวิตสะสมจำนวน 23 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.12 โดยเฉพาะวันนี้ ถือว่ามีผู้เสียชีวิตสูงสุดถึง 7 คน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. ระบุว่า หากเทียบข้อมูลการเทียบการเสียชีวิตระลอกแรก 67 คน จาก 6,772 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 0.82 ส่วนระลอก 2 ช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.64 มีผู้ป่วย 21,035 คน เสียชีวิต 27 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13 ส่วนระลอก 3 เดือน เม.ย.64 ผู้ป่วยสะสม 17,780 คน เสียชีวิตแล้ว 23 คนหรือร้อยละ 0.12
    ทั้งนี้ การวัดอุณหภูมิร่างกายถือเป็นเกณฑ์เบื้องต้น ที่ช่วยในการประเมินร่างกายของประชาชนทั่วไปว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ โดยทั่วไปอุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายมนุษย์ปกติแล้ว อยู่ระหว่าง 36.5 - 37.5 องศาเซลเซียส หรือ 97.7 - 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ ทั้งนี้อาจจะมีอุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่ปัจจัยอื่น ๆ เช่น วัย โรคประจำตัว และการดื่มของมึนเมา เป็นต้น ถ้าหากคนเรามีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป (หรือสูงกว่า 99.5 องศาฟาเรนไฮต์) แสดงว่า มีไข้ ไม่สบาย หรือมีอาการป่วย รวมถึงหากเป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่โรคติดเชื้อโควิด-19 กำลังระบาด, สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสสูงที่คน ๆ นั้นจะเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 สำหรับตำแหน่งที่นิยมใช้วัดอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์นั้น มี 5 ตำแหน่ง ได้แก่ รักแร้ (ใต้โคนแขน), รูทวารหนัก (รูก้น), ใต้ลิ้น, รูหู และหน้าผาก นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 ไม่จำเป็นจะ ต้องมีไข้สูงกันทุกคน แต่ก็ถือว่า การวัดอุณหภูมิสามารถช่วยคัดกรองผู้เสี่ยงเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้ในเบื้องต้น       ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลคลองทรายขาว ให้ความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และเป็นองค์กรหนึ่งที่สามารถส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และรักษาพยาบาลเชิงรุก ดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก เยาวชน ประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้เด็กและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้มีการวัดอุณหภูมิร่างกายและมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.ร้อยละ 90 ของเด็กและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการวัดอุณหภูมิร่างกายและมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

2 ข้อ 2. เพื่อให้การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
  1. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อที่ 1. เพื่อให้เด็กและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้มีการวัดอุณหภูมิร่างกายและมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อ 2. เพื่อให้การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

4 ต.ค. 65 จัดซื้อเครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติพร้อมวัดอุณหภูมิในตัว 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลคลองทรายขาว ได้มีการวัดอุณหภูมิร่างกายและมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2564 09:31 น.