กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วย Antigen Test Kit (ATK) ตำบลเมาะมาวี
รหัสโครงการ 64-L3031-09-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 2 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กันยายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 265,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาซีลา แจกอม๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ มูฮำหมัดนาเซร์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนาไวรัส หรือ (COVID-๑๙)ทั่วโลก ณ ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วโดยในขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกแตะ ๒๐๐ ล้านคน มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกจำนวน ๔.๗๒ ล้านควน สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ๑๙ ประเทศไทยระลอกที่สามตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงและพบการระบาดในวงกว้างมากขึ้น จำนวนมีผู้ติดเชื้อรายใหม่รวมในประเทศไทยวันละเกินกว่า 14,666 รายต่อวัน มีผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศจำนวน 1,175,866 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 11,495 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564) ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการรุนแรงจะต้องอยู่ในห้อง ICU จำนวนสูงถึง ๕,๐๐๐ คน สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาโควิด ๑๙ ในจังหวัดปัตตานี ก็ความรุนแรงเช่นเดียวกัน ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙) ประกาศให้เป็นจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดหรือพื้นที่สีแดงเข้ม โดยมียอดผู้ป่วยสะสม ณ ปัจจุบัน ยอดรวม ๑5,000 คน มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม จำนวน 222 ราย ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงมาก ประกอบกับอัตราผู้ติดเชื้อรายวันเป็นหลักร้อยทุกวัน ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ๑๙ ในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยสะสมจำนวน ๑,630 คน รายมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆถ้าหากไม่สามารถบริหารจัดการแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อออกจากกันได้อย่างชัดเจนก็จะทำให้สถานการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลจึงมีนโยบายให้มีการตรวจเชิงรุกมากขึ้นโดยให้สามารถนำด้วยการชุดทดสอบเบื้องต้น (Antigen test kit) มาตรวจเชิงรุกเพื่อสามารถที่จะคัดครองผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วสามารถที่จะแยกผู้ที่ติดเชื้อออกมาแยกกักเพื่อไม่ให้ปะปนกับครอบครัวหรือคนในชุมชนซึ่งสามารถตัดวงจรการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโควิด ๑๙ ได้ ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ  คือ  อาการหนัก(สีแดง) อาการปานกลาง (สีเหลือง) และอาการไม่รุนแรง (สีเขียว) เมื่อเกิดสถานการณ์ระบาดที่รุนแรง ผู้ติดเชื้อจะถูกปฏิเสธและต้องรอคอยอยู่ที่บ้าน  และทำให้คนใกล้ชิดต้องติดเชื้อต่อๆและขยายเข้าสู่ชุมชนในวงกว้างมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาระบบโรงพยาบาลสนามเพื่อพักคอยเตียง หรือดูแลผู้ป่วยโควิดแก่คนในชุมชน(Community Isolation & Home Isolation) จึงเป็นทางออกเพื่อการรับมือสถานการณ์ระบาดของโควิด-19เป็นสถานที่สำหรับรับผู้ติดเชื้อหรือผู้ติดเชื้อที่อาการไม่หนักมากจนต้องเข้าโรงพยาบาล
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวีจึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วย Antigen Test Kit (ATK)ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในตำบลเมาะมาวี ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดให้มีการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโคโรน่าด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น

 

0.00
2 2. เพื่อค้นหาประชาชนที่มีผลบวกด้วยโรคติดเชื้อโคโรน่าให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ทำให้ควบคุมโรคได้มากขึ้น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโคโรน่าในพื้นที่ตำบลเมาะมาวี
  2. ประชาชนในชุมชนตำบลเมาะมาวีที่ได้รับการคัดกรองแล้วผลเป็นบวก ได้รับการดูแลรักษา
  3. ติดตามสถานการณ์ของโรคและเฝ้าระวังเป็นระยะๆ
  4. สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานให้ผู้บริหารทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโคโรน่าในพื้นที่ตำบลเมาะมาวีได้รับคัดกรองทุกคน
  2. ประชาชนมีผลบวกติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้รับการคัดกรองด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น Antigen Test Kit ได้รับการดูแลรักษาผ่านโรงพยาบาลสนามเพื่อการพักคอยเตียง (Community Isolation และ Home Isolation)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2564 12:48 น.