กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ สร้างภูมิคุ้มกันและเฝ้าระวังควบคุมโรคโควิด 19 ( ส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด - 19 เชิงรุก ) ในปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 13/2564
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แกนนำชมรมควบคุมโรค
วันที่อนุมัติ 2 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 37,801.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอแม เลาะมะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.473,101.349place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บาโงยเป็นตำบลขนาดเล็ก ประกอบด้วยจำนวน ๔ หมู่บ้าน มีประชากรจำนวน ๒,๘๒๓ คน คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร จำนวน ๘๐ % จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา (Covid ๑๙) ในพื้นที่ของตำบลบาโงยมีความเสี่ยงในส่วนของประชาชนที่ทำงานอยู่ต่างพื้นที่ บางส่วนทำงานอยู่ตามประเทศเพื่อบ้าน สามารถจำแนกข้อมูลได้ดังนี้ ๑) ผู้ที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ ได้แก่ เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไม่สวมหน้ากากอนามัยเวลาออกจากบ้าน จำนวน ๑๓๒ คน ๒) ผู้ที่เดินทางกลับมาต่างจังหวัด ได้แก่ เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง กทม. เขตปริมณฑล และพื้นที่ตามประกาศฯ จำนวน ๓๗ คน ๓) ผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศเพื่อบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอื่น ๆ จำนวน ๑๗ คน ๔) ผู้ที่กักกันตนเองโดยกักตัวที่บ้านจำนวน ๑๔ วัน โดยกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือมีอาการที่สงสัยว่าเข้าข่ายจะเป็นโรคติดต่อ จำนวน ๑๒ คน จากข้อมูลดังกล่าวเห็นควรให้มีการเฝ้าระวังเพื่อให้เกิดการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ และสถานการณ์ของโรคระบาดไวรัสโคโรนา (Covid ๑๙) ในพื้นที่ตำบลบาโงยของระลอกที่ ๓ มีผู้ป่วย จำนวน ๖๐ คน และมีกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยซึ่งมีความเสี่ยงสูง จำนวน ๘๐ คน โดยภาพรวมแล้วสถานการณ์เริ่มทวีความรุนแรงและยากลำบากในการสกัดกั้น หน่วยงานในพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด - ๑๙ ที่กำลังระบาดอย่างหนักในพื้นที่นั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid- ๑๙ ) ในพื้นที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นจำนวนมาก องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยได้จัดบริการเชิงรุกให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ได้รับวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - ๑๙ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยได้จัดกิจกรรม “ คนบาโงยอยากฉีด ต้องได้ฉีด ” โดยมีการเปิดรับลงทะเบียนให้กับประชาชนในพื้นที่ที่มีความสนใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - ๑๙ ( Covid-๑๙ ) ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงย และโรงพยาบาลรามันได้กำหนดวันฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลบาโงยที่ได้มาลงทะเบียนตามวันและเวลาที่กำหนด ในวันศุกร์ ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ อาคารอเนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงย นั้น โดยจะมีการฉีดวัคซีนให้กับพี่น้องประชาชนตำบลบาโงย ๔ กลุ่มเป้ายหมาย คือ กลุ่มที่ ๑) อายุ ๑๘ - ๕๙ ปี กลุ่มที่ ๒) ผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการ ๓) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๗ กลุ่มโรค จำนวน ๓๕๐ คน ณ อาคารอเนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการฉีดวัคซีนโควิด - ๑๙ เชิงรุกในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลบาโงย

 

0.00
3 เพื่อสร้างภูมิคุ้มให้กับบุคลากรด่านหน้าในการจัดหาวัสดุทางการแพทย์ และ เกิดภูมิคุ้มหมู่ในการฉีดวัคซีนให้กับประชานในพื้นที่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2564 20:44 น.