กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.รวมใจ ร่วมลดขยะมูลฝอย
รหัสโครงการ 60-8287-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ตำบลเทพา(นายหมัดอุเส็นสามารถ ประธานอสม.)
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวเนตรชนกแสงเจริญนายกาดาฟีหะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.ย. 2560 30 ก.ย. 2560 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 510 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุจากการเพิ่มปริมาณขยะทุกปี ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าอปท.จะมีการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย ทำลาย แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2555 พบปริมาณขยะชุมชนประมาณ 24.73 ล้านตัน ในจำนวนนี้สามารถกำจัดได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประมาณ 4.83 ล้านตัน และถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณ 5.28 ล้านตัน มูลฝอยส่วนที่เหลือกว่า 13.62 ล้านตัน ยังคงถูกกำจัดทิ้งอย่างไม่ถูกหลักวิชาการด้วยวิธีการเทกองกลางแจ้ง และการเผาในที่โล่ง (กรมควบคุมมลพิษ,2556:3-2) ส่งผลกระทบที่ตามมาทั้งความสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพ ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวน รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค และเป็นแหล่งการแพร่ของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัง และอื่นๆ จะเห็นว่าขยะเป็นต้นเหตุของการบั่นทอนอายุของประชาชนให้สั้นลง รวมทั้งความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเทพา จึงได้จัดทำโครงการอสม.รวมใจ ร่วมลดขยะมูลฝอย เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย รวมทั้งเพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด และการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ตลอดจนเพื่อลดปัญหาสุขภาพของประชาชนที่มีสาเหตุมาจากขยะมูลฝอย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะการใช้ประโยชน์จากขยะและการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ลดปัญหาสุขภาพของประชาชนที่มีสาเหตุจากขยะมูลฝอย
  1. ประชาชนมีความรู้ร้อยละ 80
  2. ผู้เข้าร่วมมหรกรรมสุขภาพมีความพอใจร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 กิจกรรมชุมชนปลอดขยะ 1.1 จัดอบรมให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะการใช้ประโยชน์จากขยะและการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์โดยแบ่งจัดอบรมตามพื้นที่ pcu 1.2 ดำเนินการพัฒนาความสะอาดในหมู่บ้าน big cleaning
1.3 ประกวดบ้านสะอาดรายหมู่บ้าน และมอบรางวัล 2. กิจกรรมมหกรรมชุมชนสะอาด 2.1 ประกวดขบวนพาเหรดรีไซเคิล 2.2 ประกวดการประดืษฐ์สิ่งของจากขยะเหลือใช้ 2.3 จัดนิทรรศการ 2.4 เสวนาการจัดการขยะและบ้านสะอาด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะและการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์
  2. ลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด และการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์
  3. ลดปัญหาสุขภาพของประชาชนที่มีสาเหตุจากขยะมูลฝอย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2560 12:52 น.