กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (LQ) อบต.เฉลิม ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L2503-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเฉลิม
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 1,258,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย มาหามะพับลี หะยีวาจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.291,101.641place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 1,258,940.00
รวมงบประมาณ 1,258,940.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
100.00
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้าง ส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวนมากกว่าวันละ 1,000 คน ทำให้การจะรับการรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโรคโควิดสายพันธ์ุ แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด ทางจังหวัดได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งศูนย์กักกันตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine (LQ) เพื่อใช้ในการกักกันตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (สัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ) และผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนตำบลเฉลิมเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. เพื่อทำการคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3. เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อภายในหมู่บ้าน/ชุมชน 4. เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กภายในหมู่บ้าน/ชุมชน 5. เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน คัดกรองบุคคลทั่วไป บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (สัมผัสผู้ติดเชื้อ) และผู้เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงสูงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  • ร้อยละของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว 100
  • ร้อยละของบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง 100
1000.00
2 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

100.00
3 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลทั่วไป บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (สัมผัสผู้ติดเชื้อ) และผู้เดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือพื้นที่เสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1000 1,258,940.00 1 1,258,940.00
1 ส.ค. 64 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (สัมผัสผู้ติดเชื้อ) และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง 1,000 1,258,940.00 1,258,940.00

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลทั่วไป บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (สัมผัสผู้ป่วย) และผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง โดยการประสาน ผู้นำศาสนาประจำมัสยิด (อิหม่าม) อสม.ในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์และคัดกรองบุคคลทั่วไป บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (สัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ) และผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง ได้รับการคัดกรอง 100 % โดยการมอบอุปกรณ์ในการป้องกันและเฝ้าระวังให้กับมัสยิดแต่ละแห่ง ประกอบด้วย 1. เครื่องเทอร์โมสแกน แบบไม่สัมผัส พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ชุด เจลแอลกอฮอล์ ขนาด 500 มิลลิลิตร จำนวน 12 ขวด พร้อมที่เหยียบเจล จำนวน 1 อัน และมอบหน้ากากอนามัยพร้อมเจลล้างมือ ให้กับ อสม.เพื่อแจกให้กับประชาชนในพื้นที่่ ตามบ้านเลขที่ตามทะเบียนราษฎร์ หลังคาเรือนละ 1 ชุด ประกอบด้วย 1. หน้ากากอนามัย จำนวน 1 กล่องๆ ละ 50 ชิ้น และเจลแอลกอฮอล์ ขนาด 40 มิลลิลิตร จำนวน 2 ขวด และได้มอบเครื่องวัดอุณหภูมิ แบบดิจิตัลอินฟาเรด หมู่บ้านละ จำนวน 3 เครื่อง กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (สัมผัสผู้ติดเชื้อ) และผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง โดยใช้อาคารของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตตำบลเฉลิม จำนวน 6 โรง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูโบ๊ะกาเยาะ (อาคารเก่า) จำนวน 1 ศูนย์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล้กตำบลเฉลิม ขององค์การบริหารส่วนตำบลเฉลิม (อาคารใหม่) จำนวน 1 ศูนย์ รวมศูนย์กักกันตัวทั้งหมดของตำบลเฉลิม จำนวน 8 แห่ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง (สัมผัสผู้ติดเชื้อ) และผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง ได้รับการคัดกรองทุกคน
  2. เกิดระบบการกักกันตัวผู้ที่มีความเสี่ยงสูงการติดเชื้อโควิด 2019 (COVID-19)
  3. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการกักกันตัว 100 %
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2564 11:35 น.