กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)
รหัสโครงการ 64-L3060-5-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์กาบริหารส่วนตำบลละหาร
วันที่อนุมัติ 2 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2564 - 15 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 211,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายะอ์กูบ มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.659,101.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกข้อท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์เผยแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่าตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดปัตตานี อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิกรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสียงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดทีมีความเสียงต่อการรับเชื้อ ของกรมความคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องกำหนดมาตรการความคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อโควิด19 ของตำบลละหาร มีผู้ติดเชื้อจำนวน 76 คน และมีมาตรการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังในสถานที่กลางที่จัดตั้งขึ้น (Local Quarantine) จำนวน 11 คน กักตัวที่พักอาศัยของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ได้มีความร่วมมือกับหน่วยบริการในพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วยระดับตำบล (Local Quarantine) และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ระยะที่ 2 รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้ ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและองค์กรเภสัชกรรมร่วมกันจัดหาชุด ATK เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปให้ประชาชนในการตรวจคัดกรองตนเองและตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ยังอยู่ในช่วงการจัดหาและจัดระบบการกระจายซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกพอสมควร ซึ่งอาจไม่ทันต่อการระงับยับยั้งตามสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ที่ มท.0808.2/ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคโควิด -19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาด ในชุมชน

ร้อยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.ย. 64 - 30 พ.ย. 64 กิจกรรมอบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 25 13,650.00 -
8 ก.ย. 64 - 30 พ.ย. 64 กิจกรรมค้นหา/เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 คัดกรองด้วย ATK 500 197,500.00 -
รวม 525 211,150.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ อปท. ร่วมกับหน่วยบริการและเครือข่ายสุขภาพในชุมชน 1. ประชุมสมาชิก (ทีมงานและผู้เกี่ยวข้อง) จนท. หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 นำไปดำเนินการตามโครงการ 2. อปท.ออกคำสั่งแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม./แกนนำชุมชน/และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ โดยการดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง 3. อปท. กำหนดพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง โดยร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่ ประสานรายชื่อผู้เสี่ยงสูงและประเมินความเสี่ยงของบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกำหนดให้เข้าสู่การตรวจคัดกรองเชิงรุก จากหน่วยบริการสาธารณสุข จัดทำทะเบียนผู้รับการคัดกรองประกอบด้วยข้อมูล ชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน วันที่ตรวจ (ควรจัดเก็บด้วย Excel เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบภายหลัง) ผู้เข้ารับการคัดกรอง ATK ด้วยเงิน กปท. หรือ เงินจากงบประมาณของ อปท. หน่วยบริการไม่สามารถนำไปออเทนเพื่อรับค่าคัดกรอง ATK จาก สปสช.อีก
4. อปท. ประสานทีมเพื่อฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยงสูง และการวางแผยจัดการขยะติดเชื้อ 5. จัดตั้งทีมกระจายความรู้ป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยในหนึ่งทีมประกอบด้วย อสม. จำนวน 2-3 คน และผู้เกี่ยวข้อง ในการรับผิดชอบให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ณ ที่พักอาศัย 6. แกนนำชุมชน อสม. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องออกกำกับติดตามเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่องโดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการป้องกันโรค และมอบวัสดุป้องกันโรค หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ เป็นครัวเรือน 7. มีการติดตาม หรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3-5 วัน หากมีอาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้ง อสม./รพ.สต./รพ. เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ 8. หากมีผลตรวจ ATK เป็นบวก ให้พิจารณาประสานหน่วยบริการในการเข้าระบบ Community Isolation หรือ Home Isolation เพื่อการดูแลรักษาตามาตรฐานต่อไป 9. มีมาตรการทางสังคม ประชาชนร่วมกันสังเกตผู้มาจากพื้นที่เสี่ยงสูง รายงานผู้รับผิดชอบ เพื่อรับการคัดกรองด้วย ATK ประสานเข้าระบบกักตัว กรณีมีผลเป็นลบ และสร้างความเข้าใจในการกักตัวเพื่อลดความกังวลประชาชนในชุมชน หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพจิตชุมชน 10. สรุปผลดำเนินงานโครงการนำส่งคณะกรรมการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน
    1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่พฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19
    2. มีกลไกมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2564 09:44 น.