กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ฉีดวัคซีนโรค COVID-19
รหัสโครงการ 64-L8278-02-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านบือซู
วันที่อนุมัติ 8 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กันยายน 2564 - 23 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 22,810.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยามีลา สะระยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรค COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นและเป็นการรักษาความมั่นคงในระบบสาธารณสุขของประเทศ ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน – 21 สิงหาคม 2564 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 1,001418 ราย เสียชีวิต 9,087 ราย จังหวัดยะลา มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 10,256 ราย เสียชีวิตสะสมทั้งหมด 101 ราย สำหรับพื้นที่อำเภอบันนังสตา พบผู้ป่วยเป็นอันดับที่2 ของจังหวัดยะลา มีผู้ป่วยทั้งหมด 1847 ราย เสียชีวิต 115 ราย โดยพบผู้ป่วยในพื้นที่ตำบลบันนังสตา มีผู้ป่วยสะสม 801 ราย เสียชิวิต 105 ราย ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดาเนินการให้ความรู้ คำแนะนา การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองรวมถึงการให้ความรู้ในการรับวัคซีนให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ มีความรู้ความเข้าใจในการรับวัคซีนตามที่รัฐบาลกำหนด ตามเป้าหมาย ร้อยละ70 สำหรับสถานการณ์ข้อมูลการรับวัคซีนของประชาชนพื้นที่ ม.6 บือซู ร้อยละ 9.51 และ ม.8 ตือระ ร้อยละ 9.02 ตำบลบันนังสตา.จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่ามีจำนวนประชาชนที่มารับวัคซีนที่ยังน้อย เนื่องจากประชาชนยังมีการหวาดกลัวต่อผลข้างเคียงรวมถึงการรับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง และการได้รับการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ทั่งถึง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสเป็นต้น


ดังนั้น จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ และเร่งรัดการรับวัคซีนในกลุ่มประชากรทนพื้นที่เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการมารับวัคซีน ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โดยคำนึงถึงประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ป่วยและทันตบุคลากรเป็นหลัก ในแง่ของกระบวนการป้องกันโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทางชมรมอสม.รพ.สต.บ้านบือซู จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ฉีดวัคซีน โควิด-19 เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้และเพิ่มการรับบริการฉีดวัคซีนให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้การระบาดของโรคลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการรับวัคซีนแก่ประชาชนในพื้นที่

ประชาชนมารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19เพิ่มขึ้นร้อยละ 40

0.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

จำนวนผู้ป่วยลดลง ร้อยละ 50

0.00
3 เพื่อลดการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19

อัตราการเสียชีวิตลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
        1. เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน
        2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้นำชุมชน อสม. รพ.สต.
ขั้นดำเนินการ         1. จัดทำแผนการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เคาะประตูรณรงค์โดยอสม.ทุกหลังคาเรือน ในพื้นที่ ม.6 และ ม.8 ตำบลบันนังสตา
        2. ใช้รถประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยอสม. จำนวน 43 คน         3. สรุปผลและประเมินผลโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมารับบริการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ร้อยละ20
  2. ประชนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามาตรการ DMHTT ร้อยละ 50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ