กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 60-3033-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ตำบลระแว้ง
วันที่อนุมัติ 24 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 95,490.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซาโลมาซาอสม.หมู่ที่ 4ตำบลระแว้ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.755,101.324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 365 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุหรือ คนชราตามคำจำกัดความขององค์กรอนามัยโลกหมายถึงคนที่มีอายุ60ปีขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชายปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒนางานด้านสาธารณสุขทำให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้นและมีอายุยืนยาวทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้นองค์กรอนามัยโลกได้นิยามไว้ว่า"สุขภาพ หมายถึงสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญามิใช่เพียงการปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้น"(ตามนิยาม"สุขภาพ"ขององค์กรอนามัยโลกและ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550)"หรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทุก ๆทางเชื่อมโยงกันสะท้อนถึงความเป็นองค์รวมอย่างแท้จริงของสุขภาพที่เกื้อหนุนและยั่งยืนหมายถึงคนไทยมีสุขภาวะดีครบทั้งสี่ด้านได้แก่ กายจิตสังคมและปัญญาอันได้แก่
1.สุขภาวะทางกายหมายถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงมีเศรษฐกิจพอเพียงมีสิ่งแวดล้อมดีไม่มีอุบัติภัย เป็นต้น 2.สุขภาวะทางจิตหมายถึงจิตใจที่เป็นสุขผ่อนคลายไม่เครียดคล่องแคล่วมีความเมตตากรุณามีสติมีสมาธิเป็นต้น 3.สุขภาวะทางสังคมหมายถึงการอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัวในชุมชนในที่ทำงานในสังคมในโลกซึ่งรวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดีและมีสันติภาพเป็นต้น 4.สุขภาวะทางปัญญา(จิตวิญญาณ)หมายถึงความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากมีจิตใจสูงเข้าถึงความจริงทั้งหมดลดละความเห็นแก่ตัวมุ่งเข้าถึงสิ่งสูงสุดซึ่งหมายถึงพระนิพพานหรือพระผู้เป็นเจ้าหรือความดีสูงสุดสุดแล้วแต่ความเชื่อมที่แตกต่างกันของแต่ละคน สุขภาวะหมายถึงการดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุขทั้งกายและ จิตอาจกล่าวได้ว่ามิใช่เพียงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บแต่รวมถึงการมีชีวิตที่มีร่างกายแข็งแรงจิตแข็งแรงมีความสุขอยู่ในสังคมโลกในปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วบางอย่างที่เกิดขึ้นก่อใ้ห้เกิดภาวะคุกคามต่อสุขภาวะคนไทยที่เกิดเป็นปัญหาด้านสุขภาพมลภาวะที่เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอาหารวิถีชีวิตค่านิยมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาทั้งสิ้นก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเช่นเกิดโรคเอดส์เกิดโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจขาดเลือดเกิดอุบัติภัยสูงขึ้นเป็นต้นมีโรคหลายโรคที่อาจป้องกันหรือสามารถลดอัตราเสี่ยงลงได้ซึ่งต้องการความร่วมมือร่วมใจจากหลาย ๆ ฝ่ายช่วยการสร้างเสริมสุขาภาพให้กับสังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้การสร้างสุขภาวะทั้ง 4ด้านให้แก่ผู้สูงอายุผู้ดูแลผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีความเข้าใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น

2 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพระหว่างกัน

ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้

3 จัดกิจกรรม เพื่อความผ่อนคลาย และเป็นการทดสอบสุขภาพของผู้สูงอายุเช่นการเป่าลูกโป่งการร้อยด้ายเข้าเข็ม

ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุข และผ่อนคลาย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ระแว้งเพื่อขออนุมัติโครงการ 2.ประชุม อสม.และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การสร้างสุขภาวะท้ง 4 ด้านให้แก่ ผู้สูงอายุ 4.จัดกิจกรรมการแข่งขันต่าง ๆ เช่นเป่าลูกโป่งร้อยด้ายเข้าเข็ม 5.การตรวจสุขภาพในผู้สูงอายุโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม. 6.ออกเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุติดเตียง 7.รายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความเข้าใจในการดูและสุขภาพได้อย่างถููกวิธี 2.ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ 3. ผู้สูงอายุมีความรู้สามารถปฏิบัติตนให้ผ่อนคลายและมีความสุข 4.ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ไปดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2560 16:53 น.