กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลน้ำผุด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 10 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (63,005.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข  ให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์ระบาด ยังไม่สามารถควบคุมได้ โรคติดเชื้อไวรัส  โคโรนา 2019 (COVID-19) จะทำให้เกิดอาการไข้ ไอ    และสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการเสียชีวิตมีเพียง 1-3 % น้อยกว่า โรค SARS ซึ่งมีอัตราการตาย 10 % ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ถือว่ามีความจำเป็นด้วยการดำเนินมาตรการ การรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสถานที่มีคนพลุกพล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี การสวมหน้ากากอนามัย การไม่นำมือไปสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินไปของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีชาวไทยเดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และต่างหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการ คัดกรอง แยกกัก กักกัน ในสถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชน เป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีโรคติดต่อ หรือเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา67(3) บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับการติดต่อของโรค ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16(19) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15      หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท.0808.0/ว1727 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ 0808.2/ว1992 ลงวันที่ 1 เมษายน 2563 เรื่อง แนวทางการจัดหาอาหารในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19)หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ที่ สปสช.5.33/ว 229 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เรื่องขอความร่วมมือดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2503 ข้อ 10/1 องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุดจึงได้จัดทำโครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล (Local Quarantine) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคติดต่ออันตราย โดยจัดเตรียมพื้นที่กักกัน ควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

(๑) ขั้นตอนการวางแผนงาน ๑.๑ ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ ๑.๒ ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน (๒) จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้ำผุด (๓) ขั้นตอนการดำเนินงาน     ๓.๑ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค ได้แก่ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ ฯลฯ ๓.2 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้แก่กลุ่มเสี่ยง ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (๔) ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ (๕) สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑) ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
(๒) ประชาชนในพื้นที่ผลิตหน้ากากผ้า สเปรย์ฆ่าเชื้อ/เจลล้างมือ ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2564 11:51 น.