กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 24 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรไลลา อับดุลกาเดร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความทุกข์ ความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเองและผู้ดูแล ค่ารักษารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น แผลเรื้อรัง ปัญหาการมองเห็น ปัญหาทางไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น จากการคาดการขององค์การอนามัยโลก พบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เฉพาะการรักษาพยาบาลเบาหวานอย่างเดียว ไม่รวมภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่ตามมา ในประเทศพัฒนาแล้ว ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลถึง ร้อยละ 8 ของงบประมาณด้านสาธารณสุขทั้งหมด ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา แต่ยังพบว่าอุบัติการณ์เกิดโรคยังเพิ่มอย่างต่อเนื่องและกลับทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาอัตราตายด้วยโรคเบาหวานเท่ากับ 7.9-11.8โรคเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย ความชุกของเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยพบความความชุกสูงสุดที่กลุ่มอายุ 60 ถึง 69 ปี
ในประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2557 ประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 25 หรือคนไทย 1 ใน 4 คน เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง คิดเป็นจำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงประมาณ 13 ล้านคนซึ่งมีเพียงร้อยละ 44 เท่านั้นที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษา ที่สำคัญโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไต อันเป็นสาเหตุถึงขั้นรุนแรงที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จากข้อมูลล่าสุด พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ประมาณ 60,000 ราย โรคหลอดเลือดหัวใจ ประมาณ 40,000 ราย และโรคไต ประมาณ 14,000 ราย นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคความดันโลหิตสูงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูง หากคนไทยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 10 ล้านคน จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลถึงประมาณ 80,000 ล้านบาทต่อปี จากสภาพปัญหาปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตตำบลบันนังสตา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มาไม่ตามนัด มีการรับยาไม่ต่อเนื่อง การกินยาไม่ต่อเนื่องของผู้ป่วยทำให้เกิดปัญหาการคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการควบคุมความดันโลหิตสูงในกลุ่มป่วยเพียงร้อยละ21.66 ในกลุ่มโรคเบาเหวานและ 25.22 ในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มดังกล่าว ดังนั้นกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิจึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานยาโรคเรื้อรังที่ถูกต้อง

 

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตสูงได้

 

3 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. ดำเนินงานตามแผน
  4. กิจกรรมให้ความรู้ การกินยา และภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 5.สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ลดภาวะแทรกซ้อนและความรุ่นแรงในกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและพฤติกรรมการกินยาที่ถูกต้องทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ