กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 24 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาซียะบาเหมบูงา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 360 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบันนังสตาอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลามีจำนวนศาสนสถานทุกประเภทที่ขึ้นทะเบียนจำนวน25 แห่ง ประกอบด้วยมัสยิด 21 แห่ง วัด 1 แห่งและสถาบันศึกษาปอเนาะ 2 แห่ง ซึ่งผลการดำเนินงานในภาพรวมของตำบลบันนังสตา มีจำนวนศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพที่ผ่านระดับพื้นฐาน 15 แห่ง รองลงระดับดี 4 แห่ง และระดับดีมากจำนวน 2 แห่ง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ผู้นำศาสนา/คณะกรรมการมีความตั้งใจในการพัฒนาศาสนสถาน ความร่วมมือของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตลอดจนบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกณฑ์การประเมินที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในภาพรวมของตำบลบันนังสตาส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นฐานได้แก่ อาคารและรอบบริเวณศาสนสถานไม่สะอาดสถานที่ปรุงอาหารไม่ถูกสุขลักษณะห้องน้ำ ห้องส้วมไม่สะอาด และการจัดการขยะไม่ถูกสุขลักษณะในระดับดีได้แก่ อุปกรณ์และภาชนะใส่อาหารไม่ถูกสุขลักษณะมีลูกน้ำในภาชนะเก็บกักน้ำห้องน้ำไม่มีการแยกระหว่างชาย-หญิงไม่มีอ่างล้างมือ สบู่ล้างมือและระดับดีมากได้แก่ ไม่มีบริเวณสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ บ่อเก็บกักน้ำสำหรับอาบน้ำไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่มีการแยกขยะ ไม่มีอุปกรณ์ดับเพลิง และห้องน้ำ ห้องน้ำห้องส้วมไม่ผ่านมาตรฐาน HAS เนื่องจากศาสนสถานเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจที่สำคัญในชุมชน ดังนั้นการพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะต้องเสริมสร้างสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน การประยุกต์ใช้หลักการปฏิบัติในการนับถือศาสนาให้สอดคล้องกับหลักการปฏิบัติในแต่ละศาสนาตลอดจนความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของประชาชน ผ่านการถ่ายทอดความรู้โดยผู้นำศาสนาแต่ละศาสนา โดยคาดว่ากระบวนการเหล่านี้สามารถพัฒนาศาสนสถานให้ผ่านเกณฑ์ศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพในระดับต่อไปจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอและอนุมัติ 2.ประสานกับบุคคลกรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้นำศาสนาอสม. ประชาชน 3.ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้แก่ ผู้นำศาสนาอสม. ประชาชน 4.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องมาตรฐานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพในแต่ละด้านให้แก่ ผู้นำศาสนา อสม. ประชาชน 5.ประชาชน อสมและ ผู้นำศาสนาร่วมกันพัฒนาศาสนสถาน 6.จัดตั้งคณะกรรมการประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ 7.จัดการประกวดมัสยิด“ศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ” ตามเกณฑ์มาตรฐานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ 8.ตรวจประเมินมัสยิด“ศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ”ตามเกณฑ์มาตรฐานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการมัสยิดและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการมาตรฐานศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ 2.คณะกรรมการมัสยิดมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลบำรุงรักษาศาสนสถานอย่างต่อเนื่อง 3.ประชาชนให้ความสำคัญในการพัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ