กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด SKT ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด SKT ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
รหัสโครงการ L5249-2565-1-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2564 - 25 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2565
งบประมาณ 55,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.74,100.241place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน ซึ่งกรณีที่การตีบตันมีมากกว่าร้อยละ 70 จะส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หากได้รับ  การประเมินและรักษาล่าช้าจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้หรือหากมีชีวิตรอดอาจทาให้อยู่ในภาวะพึ่งพา จำเป็นต้องอาศัยผู้ดูแล (สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย, 2557) ซึ่งในประเทศไทยพบว่า ภาวะหัวใจขาดเลือดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สาคัญ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ของประชากรในประเทศ รองจากมะเร็ง หลอดเลือดสมองและปอดติดเชื้อ โดยอัตราการตายด้วยภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ถึง 2561 เป็น 29.9 32.3 32 และ 39.4 รายต่อประชากรแสนคนตามลาดับ (กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, 2560) ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ พบว่า มากกว่า ร้อยละ 60 มาจากกลุ่มผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ และเบาหวาน (World Health Organization, Country Office for Thailand, 2019) และพบในเพศชาย  สูงกว่าเพศหญิง 2 – 3 เท่า นอกจากนี้ สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อื่น ๆ ได้แก่ ภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคไต การสูบบุหรี่ ความอ้วน และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น (Laothavorn et al., 2010; Tankumpuan et al., 2019) อย่างไรก็ตามโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถป้องกันได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ระดับน้าตาลในเลือด ปรับพฤติกรรมการบริโภค ควบคุมน้าหนัก การงดสูบบุหรี่ ออกกาลังกาย ลดความเครียด และพักผ่อนอย่างเพียงพอ (สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย, 2557)

          จากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ พบว่าวิธีการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เช่น การควบคุมน้ำหนัก การลดบริโภคเกลือหรือไขมัน การออกกำลังกาย หรือการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ควบคุมภาวะความดันโลหิต ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดและเลิกสูบบุหรี่ (ภรปภา และทัศนา, 2561; Benjamin et al., 2019) นอกจากนี้ การฝึกสมาธิบำบัด SKT เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และพบว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับความดันโลหิตสูง (พงษศักดิ์, 2561) ลดระดับไขมัน และควบคุมระดับน้าตาลในเลือด (ณัฏฐ์ธัญศา, 2563; อรอุมา, สุธินา, และสุขุมาภรณ์, 2560) ดังนั้น งานศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด SKT ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ ปี 2565 โดยการอบรม ให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการฝึกสมาธิบาบัด SKT จะสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ ๑ เตรียมการ

    ๑ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์

ขั้นที่ ๒ ขั้นดำเนินงานตามโครงการ

    ๑. ประชุมทีมคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ

    ๒. พัฒนาชุดโปรแกรม ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับชุดโปรแกรมการฝึกสมาธิบำบัด SKT ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

    ๓. ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทุก 3 เดือน จำนวน 2 ครั้ง ดังต่อไปนี้

      - ประเมินภาวะสุขภาพ/คัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ ก่อนเข้าร่วมโครงการและอบรม ได้แก่ ตรวจค่าความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่า Total cholesterol ค่า LDL และค่า HDL

      - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

      - เชิงปฏิบัติการการฝึกสมาธิบำบัด SKT ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่

      - ให้กลุ่มเป้าหมายปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นเวลา 6 เดือน

      - ติดตามความดันโลหิตและน้ำหนักกลุ่มเป้าหมายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผ่านทาง Application/Line

  ๔. ติดตาม กำกับ ค้นหาปัญหาหรืออุปสรรค และร่วมแก้ไขปัญหา รวมทั้งให้แรงเสริมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT อย่างต่อเนื่อง ทุก 3 เดือน

    5. ประเมินภาวะสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ

    6. ประเมินผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดที่กำหนด และสรุปผลการดำเนินงาน

ขั้นที่ ๓ สรุปวิเคราะห์และประเมินผล

    ๑. สรุปผลและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคเรื้อรัง ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจลดลง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ลดลง

  2. อัตราการการเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยสาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดลดลง

  3. มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2564 09:46 น.