กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี
รหัสโครงการ 60-L4135-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 58,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซูการ์นอ มะตีมัน
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.พ. 2560 9 ก.พ. 2560 6,400.00
2 22 มี.ค. 2560 22 มี.ค. 2560 5,600.00
3 31 ก.ค. 2560 15 ส.ค. 2560 1,560.00
รวมงบประมาณ 13,560.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (13,560.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (58,760.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 39 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดีได้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบุดี ได้รับบริการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอย่างทั่วถึง และเพื่อสร้างหลักประกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานองค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคเรื้อรังในชุมชนได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจที่ระบุในข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันจะส่งผลให้เกิดมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคเรื้องรัง และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตลอดจนทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกพื้นที่ต่อไป และเพื่อให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี

ร้อยละ 80 ของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี และองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดีมีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ สามารถดำเนินงานของกองทุนฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี ให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สามารถดำเนินงานกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 80 ของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบุดีมีความพึงพอใจ ในการดำเนินงานกองทุนฯ

3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี และเน้นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดีมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกองทุนฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4

 

5

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2560 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี
- ดำเนินกิจกรรมดังนี้ - จัดประชุมคณะกรรมการ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี - จัดทำแผนงานโครงการ
- สรุปผลการดำเนินงาน - นำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี สามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. องค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่สามารถดำเนินงานกองทุนฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
  3. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบุดี มีส่วนร่วมและเข้าถึงบริการของกองทุนฯ
  4. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบุดี มีการเผยแพร่การดำเนินงานของกองทุนฯ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2559 12:14 น.