กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L8402-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 22 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 500,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ โดย นายประกอบ จันทสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 ก.ย. 2564 22 ก.ย. 2564 500,000.00
รวมงบประมาณ 500,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด 19 จำนวนมากกว่าวันละ 1,000 คน ทำให้การรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์ แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด และทั้งนี้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 โดยสถานการณ์ในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมระรอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 จำนวน 26,723 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 4,837 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายกลับบ้านแล้ว จำนวน 21,745 ราย เสียชีวิต จำนวน 141 ราย และสถานการณ์ในอำเภอรัตภูมิ พบว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมระรอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 จำนวน 828 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 189 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายกลับบ้านแล้ว จำนวน 12 ราย เสียชีวิต จำนวน จำนวน 1 ราย และสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 86 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงสูงที่เข้ารับการกักตัวที่บ้าน จำนวน 484 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 20 กันยายน 2564 ซึ่งทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ ได้เห็นความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยการเฝ้าระวัง ป้องกัน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ จึงดำเนินการเขียนโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ประจำปี 2564 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ใน Local Quarantine : LQ หรือ กักตัวภายในบ้านพักสำหรับบุคคลที่มีพื้นที่เหมาะสม (Home Quarantine) และเพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลคูหาใต้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ใน Local Quarantine : LQ หรือ กักตัวภายในบ้านพักสำหรับบุคคลที่มีพื้นที่เหมาะสม (Home Quarantine)

ร้อยละของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว ร้อยละ100

100.00
2 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลคูหาใต้

ประชาชนในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ ได้รับการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 500,000.00 0 0.00
20 ก.ย. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ 0 500,000.00 -

ขั้นเตรียมการ       1. ร่วมประชุมวางแผนกำหนดกลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการการดำเนินงานโครงการ       2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้   ขั้นดำเนินการ     กิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019       1. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของสถานที่กักกัน Local Quarantine : LQ       2. จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่กักกัน เช่น ทำความสะอาดสถานที่ ซ่อมแซ่มอุปกรณ์ครุภัณฑ์ต่างๆที่จำเป็น       3. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์ ที่ใช้ในการกักกัน เช่น ของใช้ส่วนตัว ชุดที่นอนสำหรับผู้กักกัน เป็นต้น       4. จัดเตรียมสถานที่กักกัน เช่น จัดเตรียมของใช้ส่วนตัว ชุดที่นอนแต่ละคน
      5. จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่กักกัน Home Quarantine และอาหารสำหรับการกักตัว       6. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง กักกันกลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข       7. กักตัวผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยการกักตัวที่บ้านของตนเอง       8. กักตัวผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัดและต่างประเทศ       9. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ

      10. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการลงพื้นที่ควบคุมโรค       11. ลงพื้นที่ดำเนินการพ่นฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงเขตตำบลคูหาใต้
      12. ลงพื้นที่แจ้งมาตรการและกำชับร้านคาราโอเกะ ตลาด ร้านสะดวกซื้อ และร้านเสริมสวย ให้ดำเนินการตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา     ขั้นสรุปโครงการ     1. ประเมินการดำเนินงานโครงการ     2. สรุปการดำเนินโครงการเพื่อส่งรายงานผลการดำเนินโครงการให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ลดลงอย่างต่อเนื่อง   2. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19   2. ผู้ที่มีความเสี่ยงเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2564 14:47 น.