กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนโกตาบารูปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใส่ใจสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โกตาบารู
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิศักดิ์ วิชยวิกรานต์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 54,400.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 54,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด ซึ่งโรคดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น การขาดการออกกำลังกาย มีความเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ภาวะเครียด รับประทานอาหารสำเร็จรูป อาหารรสจัด โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งการรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ส่งผลให้การเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น   จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ในปี 2564 เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,834 คน คัดกรองได้ 1,769 คน คิดเป็นร้อยละ 96.46 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 1.53 และจากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิต ในปี 2564 เป้าหมายประชากร 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,586 คน คัดกรองได้ 1,551 คน คิดเป็นร้อยละ 97.79 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรความดันโลหิต จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 2.39   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทั้งในกลุ่มประชากรที่ปกติและกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำโครงการ "ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใส่ใจสุขภาพ ลด หวาน มันเค็ม" ปีงบประมาณ 2564 โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือในชุมชน และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ร้อยละ 90

ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 90

400.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1200 54,400.00 0 0.00
20 - 30 ก.ย. 64 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน/จัดประชุมอบรม 400 54,400.00 -
20 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเชิงรุก/ติดตาม 400 0.00 -
20 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมติดตามและประเมินผล 400 0.00 -

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน/จัดประชุมอบรม 1.1 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ อสม. ในการจัดโครงการและวางแผนการดำเนินการ 1.2 จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 1.3 จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์และวิทยากร 1.4 ทำการคัดกรอง/จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี 2564 จำนวน 400 คน กิจกรรมที่ 2 เชิงรุก/ติดตาม 1.1 การค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 1.2 ให้บริการเชิงรุกโดยตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล 1.1 เฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 3 ครั้ง/ปี 1.2 ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส 1.3 จัดเก็บข้อมูลลงโปรแกรม JHCIS 1.4 ประเมินผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 90
  2. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาร้อยละ 100
  3. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  4. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ในการดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  5. อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานคงที่หรือลดลง
  6. ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2564 12:44 น.