กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน
รหัสโครงการ 2564-L8010-5-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกลุ่มรวมพลัง ม.1 ต้านภัยโควิด
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กันยายน 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2565
งบประมาณ 99,070.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพีรพล หมาดเท่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.ย. 2564 28 ก.พ. 2565 99,070.00
รวมงบประมาณ 99,070.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1966 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ

ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน จังหวัดสตูล มีผู้ติดเชื้อสะสม จำนวน 1,897 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 589.91 ต่อแสนประชากร และมีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตจำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.67 และในเดือนกันยายนจนถึงวันที่ 26 กันยายน 2564 อำเภอละงูมีผู้ติดเชื้อสะสม จำนวน 194 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 286.83 ต่อแสนประชากร และมีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.03 และในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน มีผู้ติดเชื้อสะสม จำนวน 37 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,882.00 ต่อแสนประชากร และมีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตจำนวน 0 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.00 ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้าน ควนไสน ขึ้น เพื่อค้นหา คัดกรอง ผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และป้องกันโรค พร้อมส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ไม่ให้ขยายตัวเป็นวงกว้างจนยากแก่การควบคุม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน และลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ให้ขยายตัวเป็นวงกว้างจนยากแก่การควบคุม
  1. ร้อยละ 100 มีเครือข่ายคณะทำงานในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในหมู่บ้าน

  2. ร้อยละ 100 ในหมู่บ้าน ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID -19)

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 33 99,070.00 0 0.00
1 ต.ค. 64 - 28 ก.พ. 65 สร้างแกนนำหรือคณะทำงาน 14 6,350.00 -
1 ต.ค. 64 - 28 ก.พ. 65 ค้นหา คัดกรอง ผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยงหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและป้องกันโรค 14 89,720.00 -
1 ต.ค. 64 - 28 ก.พ. 65 การส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
1 ต.ค. 64 - 28 ก.พ. 65 เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน 0 0.00 -
1 ต.ค. 64 - 28 ก.พ. 65 ประชาสัมพันธ์ 0 2,000.00 -
1 - 28 ก.พ. 65 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 1,000.00 -

วิธีดำเนินการ


กิจกรรมที่ 1 สร้างแกนนำหรือคณะทำงาน

1.1 กิจกรรมคัดสรรคนทำงานในชุมชนเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงาน

1.2 กิจกรรมประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและเปิดบัญชีธนาคาร

1.2.1. ประชุมคณะทำงาน 1 ครั้ง

1.3 กิจกรรมอบรมคณะทำงานเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการทำงาน

1.3.1 อบรมหลักสูตร 1 วัน

  - อบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้เชิงวิชาการและฝึกทักษะการทำงานจริงในพื้นที่

1.4 กิจกรรมประชุมเพื่อจัดทำแผนการทำงาน ปรับแผนการทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามสถานการณ์ และติดตามผลการทำงานของคณะทำงาน

1.5 กิจกรรมประสานงานในการทำงานกับหน่วยงาน บุคคล เอกชน เพื่อให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

1.6 กิจกรรมสร้างทีมไกล่เกลี่ยในชุมชน

1.6.1 คัดสรรคนในชุมชนเพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยคนในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค

1.6.2 ดำเนินการไกล่เกลี่ยคนในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐหรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคในพื้นที่ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการควบคุมโรคตามมาตรการควบคุมโรค

1.6.3 กรณีไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ให้รายงานผลไปยังคณะทำงานเพื่อรายงานผลไปยังศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคตำบลหรืออำเภอ เพื่อดำเนินการต่อไป


กิจกรรมที่ 2 ค้นหา คัดกรอง ผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และป้องกันโรค

2.1 กิจกรรมค้นหา คัดกรอง กลุ่มเสี่ยง หรือผู้สัมผัส

  • แบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้คณะทำงานแต่ละคนรับผิดชอบในการเฝ้าระวังเป็นรายครัวเรือน ค้นหากลุ่มเสี่ยง ซักประวัติ และหา Time Line ของกลุ่มเสี่ยง หรือผู้สัมผัส

  • จัดทำเครื่องหมาย หรือกั้นเขต เพื่อให้คนในชุมชนได้สังเกตุและไม่เข้าไปในเขตผู้ติดเชื้อ

2.2 กิจกรรมตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพื่อหาผู้ติดเชื้อ โดยใช้ ATK

  • ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง หรือผู้สัมผัสเสี่ยง โดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมและฝึกทักษะการตรวจ โดยใช้ชุดตรวจสนาม Antigen Test Kit (ATK)

2.3 กิจกรรมป้องกันโรค

  - ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในครัวเรือนที่มีผู้ติดเชื้อ หรือสถานที่ที่ผู้ติดเชื้อทำกิจกรรม


กิจกรรมที่ 3 การส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.1 กิจกรรมส่งต่อผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

3.1.1 กรณีตรวจเชื้อให้ผล เป็นบวก ส่งต่อไปยังศูนย์พักคอย (Community Isolation : CI) โดยใช้ยานพาหนะของโรงพยาบาล ละงู หรือองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

3.1.2 กรณีตรวจเชื้อให้ผล เป็นลบ ส่งต่อไปยังสถานที่กักกันตัวประชาชนกลุ่มเสี่ยงขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง (Local Quarantine : LQI) โดยใช้ยานพาหนะของ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

3.2 กิจกรรมส่งต่อผู้สัมผัสทั่วไป หรือเสี่ยงต่ำ

3.2.1 ให้คณะทำงานผู้รับผิดชอบในการเฝ้าระวังเป็นรายครัวเรือนเฝ้าระวัง สังเกตอาการ เป็นเวลา 14 วัน หากมีอาการเข้าข่ายการติดเชื้อให้ดำเนินการตรวจหาเชื้อเบื้องต้นโดยใช้ ATK ตามข้อ 3.1 หรือนำส่งโรงพยาบาล) โดยใช้ยานพาหนะของ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

3.2.2 กรณีเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคให้นำบุคคลดังกล่าวเข้ารับการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ให้นำผู้สัมผัสดังกล่าวไปตรวจหาเชื้อโดยใช้ยานพาหนะของ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง


กิจกรรมที่ 4 เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน

4.1 กิจกรรมแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้คณะทำงานแต่ละคนรับผิดชอบในการเฝ้าระวังเป็นรายครัวเรือน

4.2 กิจกรรมสร้างกลุ่มไลน์ในคณะทำงานเพื่อรายงานสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

4.3 กิจกรรมการกำหนดพื้นที่ให้เป็นที่เข้าใจได้ของคนในชุมชน

  • กรณีบ้านเรือน บ้านผู้ติดเชื้อให้มีสัญลักษณ์หรือสิ่งที่แสดงให้ทราบว่าบุคคลภายนอกไม่ควรเข้าไปสัมผัส

  • กรณีชุมชนหรือซอย ให้มีป้ายแสดงเป็นสัญลักษณ์ ไม่ควรเข้าไปหากไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน


    กิจกรรมที่ 5 ประชาสัมพันธ์

5.1 จัดทำเอกสารหรือแผ่นพับในการปฏิบัติตนของคนในครัวเรือน โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบในการเฝ้าระวังเป็นรายครัวเรือนแจกจ่ายให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน

5.2 ออกให้ความรู้ประชาชนทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน หรืออบต.กำแพง


กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

6.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

6.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีเครือข่ายคณะทำงานในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่
  2. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความตระหนักในการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. สามารถควบคุมป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19) ในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2564 10:35 น.