กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและรณรงค์ไอโอดีน ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3032-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง
วันที่อนุมัติ 20 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายการียายือแร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.769,101.299place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังคือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด รับประทานผัก ผลไม้น้อย ไม่ออกกำลังกาย การใช้ีวิตที่สะดวกสบายเกินไป การใช้ชีวิตประจำวันด้วยความเร่งรีบ และการใช้สารเสพติดเป้นต้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่าความเครียดในชีวิต ยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ คนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังคือ ผู้มีภาวะอ้วน ผู้มีคลอเรสเตอรอลสูง เมื่อมีอายุเกิน 35 ปีขั้นไป จึงจะเห็นผลของการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว จากสถานการณ์ของโรคเรื้อรังในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง กลุ่มเป้าหมายประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผลจากการคัดกรองเมื่อ 1 ตุลาคม 2559 - 31 มีนาคม 2560 พบประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง (ไม่รวมผุ้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง (SBP=120-139 mm/Hg DBP= 80-89 mm/Hg) จำนวน 437 คน คิดเป้นร้อยละ 13.10 และพบจำนวนประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง (ไม่รวมผุ้ป่วย) อยู่ในสงสัยเป็นโรค (SBP≥140 Hg DBP≥90 mm/Hg) จำนวน 428 คน คิดเป็นร้อยละ 11.97 และประชากรที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มสงสัยเป้นโรค จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 0.36 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนารูปแบบการดุแลกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและอ้วนลงพุงและพัฒนาภาคีเครือข่าย และให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับ ไอโอดีน เพื่อให้สามารถเผยแพร่ในชุมขนต่อไป เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และรณรงค์ไอโอดีน ประจำปี 2560 ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผุ้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและอ้วนลงพุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนอายุ 35 ปีขั้นไปที่ผ่านการตรวจคัดกรองและพบว่ามีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเข้าร่วมกิจกรรมโดยความสมัครใจ 60 คน

กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรม มีความรู้ และสามารถปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถุกต้อง ร้อยละ 85

2 ประชาชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องไอโอดีน

กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับไอโอดีน ร้อยละ 85

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง ขั้นเตรียมการ 1.1 ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง มีความพร้อมและสมัครใจร่วมกิจกรรม ขั้นดำเนินการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงดำเนินการครั้งละประมาณ 60 คน ดำเนินการแบกเข้าค่ายไป-กลับ ครั้งที่ละ 1 วัน จำนวน 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละประมาณ 2-4 สัปดาห์ กำหนดการดังนี้ 1.2 ผู้รับผิดชอบโครงการ/ คณะกรรมการดำเนินงาน จัดทำปฏิทินดำเนินงาน กำหนดวันประชุม ประสานวิทยากร ประสานประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ จัดเตรียมสถานที่ เอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลสถานการณ์โรคเรื้อรังของพื้นที่ 1.3 ดำเนินการจัดประชุมแก่ประชาชนแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวน 3 ครั้ง โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน และประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยงการให้ความรู้เกี่ยวกับไอโอดีน (รายละเอียดตามภาคผนวก) 1.4 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค 2. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อบต.ยะรัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับไอโอดีนเพิ่มขึ้น 3.มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน 4.เกิดนวัฒกรรมสุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2560 11:33 น.