กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย (Local Quarantine) ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวัชรินทร์ ชิตณรงค์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ขยายเป็นวงกว้าง และมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน และปัจจุบันในเขตพื้นที่ตำบลท่าชะมวงได้มีผู้ติดเชื้อ จำนวน 195 ราย (ข้อมูลสถานการณ์จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ วันที่ 22 กันยายน 2564) ซึ่งมีทั้งที่รักษาหายแล้ว และกำลังรักษา และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีผู้ป่วยคือกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเป็นจำนวนมาก ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน และการดำเนินการในพื้นที่ของตำบลท่าชะมวง จึงกำหนดให้กลุ่มดังกล่าวกักตัวที่บ้านของตนเองและท้องถิ่นดำเนินการช่วยเหลือด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้มีชีวิตโดยปกติโดยการสนับสนุน เครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อลดความเดือดร้อนในการกักตัว 14 วัน จากการดำเนินการดังกล่าวในพื้นที่พบว่า 1.ผู้ที่เข้าข่ายต้องกักตัวตามมาตรการกักตัวในบ้านกักตัวรวมกับผู้อาศัย    ในบ้านที่ไม่เข้าข่ายในการกักตัว ทำให้ผู้ที่อาศัยในบ้านมีความสุ่มเสี่ยงไปด้วยและต้องให้กักตัวทั้งหมด ทำให้เกิดความเดือดร้อนในครัวเรือน 2.ผู้ที่เข้าข่ายในการกักตัวบางรายไม่ได้กักตัว จึงสร้างความวิตกกังวล ให้ชุมชน สังคมและคนรอบข้าง ดังนั้นเพื่อเป็นการยับยั้งการระบาดของโรคมิให้ขยายออกไปในวงกว้าง ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน และป้องกันให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรค จึงจำเป็นต้องจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย(Local Quarantine) ในระดับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น
และด้วยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการควบคุมป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (39) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย (Local Quaratine) ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันการระบาดของของโรคฯมิให้มีการกระจายเป็นวงกว้างส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และความปลอดภัยของประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย (Local Quarantine) ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

0.00
2 เพื่อป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวัง และระงับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) เป็นวงกว้าง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจสถานที่เพื่อกำหนดเป็นศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย (Local Quarantine) ในเขตพื้นที่ตำบลท่าชะมวง
  2. จัดประชุมชี้แจงผู้นำชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจและลดผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน
  3. จัดทำโครงการเพื่อขอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  4. จัดสถานที่เพื่อรองรับผู้ที่เข้าข่ายกักกันตัว
  5. จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อรองรับผู้ที่เข้าข่ายกักกันตัว 14 วัน
  6. ดำเนินการกักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย
  7. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย (Local Quarantine) ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ และสามารถป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวัง และระงับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโนา 2019 (COVID - 19) ในพื้นที่ลงได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2564 13:51 น.