กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งศูนย์แยกกักโรคในชุมชน (Community lsolation) อำเภอรามัน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรามัน
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กันยายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรอซาลี ปัตยะบุตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1540 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศไทย พบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 12,353 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวนรวม 1,532,775 ราย หายป่วยสะสม 1,395,481 ราย และเสียชีวิตสะสะม 16,174 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2564 การระบาดระลอกใหม่นี้มีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบผู้ป่วยในหลายพื้นที่ ตลอดจนมีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คนภายในประเทศ จึงเป็นเหตุสำคัญให้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก จากสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ของประเทศไทย ทำให้ศูนย์บริการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศยกระดับตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้นโดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์เป็นหลายสายพันธุ์ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤติด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งจังหวัดยะลาเป็น 1 ใน เขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมถึงอำเภอรามัน ที่ปรากฎว่ายังไม่อาจชะลออัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังอาการโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มต่อเนื่อง ซึ่งการระบาดในแต่ละวัน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ยังมีผู้ป่วยตกค้างอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าทางอำเภอรามันได้เพิ่มจำนวนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยให้มากที่สุดแล้วก็ตาม   ดังนั้น เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดในครอบครัวและในชุมชนเพิ่มมากขึ้น อำเภอรามัน จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์แยกกักกันโรคในชุมชน (Community lsolation) อำเภอรามัน เพื่อให้ประชาชนในทุกพื้นที่อำเภอรามันที่เป็นผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (probable case) และผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) และผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) ได้มีที่พักอาศัยระหว่างรอเตียงว่า ลดการเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1540 50,000.00 0 0.00
26 ก.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 โครงการจัดตั้งศูนย์แยกกักโรคในชุมชน (Community lsolation) 1,540 50,000.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน 1.1 ร่วมประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ 1.2 ออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 1.3 ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมดำเนินงาน
  2. จัดทำโครงการเสนอต่อประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโกตาบารู เพื่ออนุมัติงบประมาณในการจัดทำโครงการ
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 จัดเตรียมสถานที่เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมเป็นแยกกันโรคในชุมชน (Community lsolation) อำเภอรามัน 3.2 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดูแลและรักษาประชาชนผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (probable case)และผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) ระหว่างรอเตียงเพื่อส่งต่อโรงพยาบาล 3.3 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ไม่มีการระบาดในพื้นที่
  2. ประชาชนผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (probable case) และผู้ป่วยยืนยัน (Confimed case) ได้มีที่พักได้รับการดูแลรักษาและคัดแยกอย่างถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่
  3. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2564 14:49 น.