กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 600,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่มีการระบาดในประเทศไทย ซึ่งเป็นระรอกที่3 หรือระรอกใหม่ในเวลานี้ พบผู้ติเชื้อสะสม ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 จำนวน 74,900 คน และเสียชีวิตสะสม จำนวน 318 ราย จังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยยืนยันสะสม ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 764 ราย โดยติดเชื้อในประเทศ 760 รายและติดเชื้อจากต่างประเทศ 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย จำแนกรายอำเภอหาดใหญ่ 570 ราย, เมืองสงขลา 91 ราย,บางกล่ำ 19 ราย , รัตภูมิ 12 ราย นาหม่อม 10 คน ,จะนะ 9 คน ,ระโนด 8 คน, สิงหนคร 7 คน ,สะเดา 6 คน, คลองหอยโข่ง 3 คน , กระแสสินธุ์ 2 คน , สะบ้าย้อย 1 คน,สทิงพระ 1 คน, เทพา 6 คน ,นาทวี 4 คน  และอำเภอรัตภูมิ 12 คน ประกอบด้วย ตำบลท่าชะมวง7 ราย ,ตำบลคูหาใต้ 3 ราย,ตำบลกำแงเพชร 2 ราย จากข้อมูลข่าวสารต่างที่มีการระบาดในต่างประเทศรวมถึงการกลายพันธ์ของโรค เช่นสายพันธุ์ประเทศอังกฤษ ,สายพันธ์ประเทศอินเดีย ,สายพันธุ์แอฟริกา และอีกหลายสายพันธุ์ และในระรอกที่3 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการ พบว่า มีการระบาด เร็วกว่า สายพันธ์ในระรอกที่1และ 2เป็น 1.7 เท่า ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน และสถานการณ์การระบาดในอำเภอรัตภูมิ ในเขตพื้นที่ตำบลท่าชะมวง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 – 29 เมษายน 2564 พบว่า มีการผู้ตอเชื้อในพื้นที่ จำนวน 7 ราย และได้มีการประกาศให้จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่เสี่ยงสูง(พื้นที่ควบคุมพิเศษ) 18 จังหวัดมี เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางได้เศรษฐกิจ จึงมีประชาชนจากต่างพื้นที่เข้ามาในพื้นที่จำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการแพร่ระบาดของโรคฯ จากจำนวนผู้ป่วย 7 ราย มีข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิได้สรุป พื้นที่เสี่ยงในตำบลท่าชะมวง ดังนี้
1.ตลาดนัดท่าชะมวง ซึ่งเป็นตลาดที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ตำบลท่าชะมวงและในอำเภอรัตภูมิ 2.ตลานัดรอมฎอน เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าประเภท อาหารปรุงสำเร็จ ทุกวันในตอนเย็นของช่วงเดือนรอมฏอน
3.มัสยิดท่าชะมวง ซึ่งเป็นสถานที่จักกิจกรรมงานกุโบร์   4.งาน/กิจกรรมต่างๆที่ประชาชนหรือชุมชนจัดขึ้นของตำบลท่าชะมวงและพื้นที่จังหวัดสงขลา


/และเมื่อมีการเกิด…. -2- และเมื่อมีการเกิดการระบาดเกิดขึ้นกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการจัดการเพื่อป้องกันการระบาดของโรคประกอบด้วย 1.การเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้าออกภายในพื้นที่โดยมีกระบวนการดังนี้ ผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ ต้องแจ้ง ชื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน หรือท้องถิ่น ทราบเพื่อให้กัดกันตัวและติดตามได้ 2.การสอบสวนโรค โดยเจ้าหน้าที่ สำนักงานสาธารณสุข ,รพสต.ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข อบต.ท่าชะมวง ผู้นำชุมชนและ อสม.
3.การจัดหาสถานที่กักตัวของกลุ่มเสี่ยงต่างๆทั้งที่เดินทางมาจากต่างประเทศ หรือภายในประเทศ จังหวัดกลุ่มเสี่ยงและรวมถึงผู้สัมผ้สกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยภายในตำบลท่าชะมวง 4.การดูแลผู้ป่วยเมื่อได้รับการรักษาเสร็จสิ้นกระบวนการ โดยมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้ ท้องถิ่นดำเนินการฉีดพ่นทำความสะอาดในพื้นที่บ้านผู้ป่วย อาสาสมัครสาธารณสุข ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วย และผู้นำชุมชนควบคุมกับกับดูแลในการกักกันตัว ให้ครบ 14 วัน
5.การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กับชุมชนในการจัดกิจกรรมสาธารณหรือส่วนตน เช่นเครื่องวัดอุณหภูมิเป็นต้น
ประกอบกับบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง พ.ศ. 2537และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ ตามมาตรา 67(3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง จึงได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อนำมาดำเนินการ ในการควบคุมป้องกันโรคตดเชื้อไวรัส โครน่า 2019 (Covid-19) ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าชะมวง มีความปลอดภัยและลดการระบาดของโรค กอง สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงจัดทำโครงการเพื่อขอรับการ โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid19) เพื่อดำเนินการควบคุมโรคและป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่ตำบลท่าชะมวง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมและป้องกันตนเอง

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลท่าชะมวงได้มีการป้องกันโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดกรองโรคระบบติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในแหล่งชุมชน 1.ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจกรรมให้กับผู้นำชุมชนและอาสามสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ประกอบด้วย
-สถานการณ์ของโรค - วิธีการดำเนินการคัดกรอง 2.จัดหาอุปกรณ์คัดกรอง/อุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.ที่วัดอุณหภูมิ ชนิดยิงหน้าผาก 2.เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดยิงฝ่ามือ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงสูง/ติดตาม ควบคุมกำกับกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาครบตามกำหนดเวลา 14 วัน จากโรงพยาบาล
1.ชี้แจงทำความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง
2.สนับสนุนอุปกรณ์ให้กับผู้นำชุมชนและ อสม.ในการติดตามกลุ่มเสี่ยง -หน้ากากอนามัย -เจลแอลกอฮอล์ -เสื้อฝน /กิจกรรมที่3 การ…     -4- กิจกรรมที่3 การทำความสะอาดสถานที่เสี่ยง 1.จัดทำแผนดำเนินการทำความสะอาดสถานที่ที่เป็นแหล่งสาธารณะ 2.ประชาสัมพันธ์ชี้แจงแผนผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม 3.การทำความสะอาดสถานที่เสี่ยง กิจกรรมที่ 4 การจัดหาสถานที่กักกันฯ 1.สำรวจสถานที่เพื่อใช้ในการกักกันฯ 2.แจ้งรายชื่อสถานที่กักกันให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถควบคุมป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid19) ในพื้นที่ได้ ผู้ปฏิบัติงานได้มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมและป้องกันตนเองและประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลท่าชะมวงปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2564 14:46 น.