กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4137-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหาสน๊ะ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2560 31 ต.ค. 2560 24,000.00
รวมงบประมาณ 24,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก จากรายงานขององค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency Researh on Cancer : IARC) / องค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี พ.ศ 2558พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามรายใหม่ปีละ 493,443 คน และตายปีละ 273,302 คน และใน 5 ปี จะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ 1,504,295 คนมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2ของมะเร็งในสตรีทั่วโลก รองลงมาจากมะเร็งเต้านม สำหรับในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในมะเร็งของสตรีไทยเป็นต้นเหตุทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่าปีละ 270,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 650 คนโดยมีสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน จากสถิติในปี 2550 พบผู้ป่วยใหม่ ประมาณ 7,000 รายมีผู้เสียชีวิต ประมาณ 3,500 ราย หรือ 9 รายต่อวันพบมากที่สุดระหว่างอายุ 45- 50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมากคาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน ในการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีอายุ 30 – 60 ปีมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2559 พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม 2 รายส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการรวบรวมเจ้าหน้าที่ในต่างพื้นที่เข้ามาทำงานร่วมกัน การสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย การส่งเสริมความรู้แก่กลุ่มแกนนำ และกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผลการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รูปแบบการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมที่สุดต่อไป โครงการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ปี 2560 สามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตนเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อนได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุดจึงได้จัดทำโครงการโครงการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

 

2 2. เพื่อให้หญิงอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20

 

3 3. เพื่อให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ เมื่อพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,000.00 1 0.00
19 - 30 ก.ย. 60 จัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แก่อสม. และแกนนำกลุ่มเป้าหมายกับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกที่กำลังได้รับการรักษาอยูในขณะนี้ 0 24,000.00 -
23 - 24 พ.ย. 60 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและกำหนดตรวจในสถานบริการ 0 0.00 0.00

1.ขั้นเตรียมการ
1.1. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่าย เพื่อค้นหาและเลือกวิธีการใหม่ๆในการชักชวน กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและกลุ่มสำรวจเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ
1.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แก่ อสม. และแกนนำกลุ่มเป้าหมายกับผู้ป่วยที่ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่กำลังได้รับการรักษาอยู่ในขณะนี้ 1.3 แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่แก่ อสม. และแกนนำ เพื่อติดตาม แนะนำและนำส่งกลุ่มเป้าหมายเข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
1.4 แจ้งแผนการดำเนินการรณรงค์แก่ อสม. แกนนำ 2.ขั้นดำเนินการ
2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและกำหนดตรวจในสถานบริการ ในทุกวันศุกร์ 2.2 ให้บริการเชิงรุกในชุมชนแก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถเดินทางเข้ารับการตรวจในสถานบริการ 2.3เชิญเจ้าหน้าที่อื่นมาให้บริการตรวจ 2.4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและให้การแนะนำวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ 2.5ส่งแผน Slide ไปตรวจและอ่านผล จากโรงพยาบาลยะลา 2.6 รับผลการตรวจจากโรงพยาบาลยะลา 2.7 ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 2.8 ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ
2.9บันทึกบันทึกผลการทำใน program pap สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 30-60 ปี
2.10 สรุป โครงการทุกเดือน รวมทั้งอสม. เพื่อสรุปปัญหาของโครงการและหาแนวทางแก้ไข 2.11 สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80
  2. หญิงอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20
  3. กลุ่มที่ได้รับการตรวจ เมื่อพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2560 15:40 น.