กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการจัดตั้งศูนย์กักกันชุมชน (Community Isolation) และ ศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยต้องสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine) สำหรับควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย ไวรัสโคโรนา 2019 ขององค์การบร

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งศูนย์กักกันชุมชน (Community Isolation) และ ศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยต้องสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine) สำหรับควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย ไวรัสโคโรนา 2019 ขององค์การบร
รหัสโครงการ 65-L5279-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด
วันที่อนุมัติ 7 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 19 กันยายน 2565
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทาวินี บุญเหลือ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ฯ รักษาราชการแทน หัวหน้าสำนักปลัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (100,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย พบว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อ(COVID-19) ไปในหลายพื้นที่ในหลายจังหวัดและยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ ข้อมูลจากสถิติของศูนย์ข้อมูล COVID-19 ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 รายงานข้อมูลผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ  ในประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้ว 386,307 ราย กำลังรักษาตัวอยู่ 122,097 ราย และเสียชีวิตสะสม 3,328 ราย และข้อมูลสถิติรายวัน มีผู้ป่วยรายใหม่ 11,784 ราย หายป่วย 5,741 ราย และเสียชีวิต 81 ราย โดยคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มของผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น จนเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลในการรองรับเตียงสำหรับผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกแนวทางการแยกกักตัวที่บ้าน (Home isolation) และกักกันตัวในชุมชน (Community isolation) เพื่อรองรับผู้ป่วย(สีเขียว) ในชุมชน และในสถานการณ์จังหวัดสงขลายังมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมีบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการกักตัว ดังนั้น เพื่อให้การกักกันตัวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามหลักสาธารณสุขและเป็นการบูรณาการสถานที่กักกันให้เป็นภาพรวมของจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อม และป้องกันให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อดังกล่าวในจังหวัดสงขลา จึงจำเป็นต้องจัดตั้งสถานที่กักกัน สถานที่คุมไว้สังเกตอาการ เพื่อรองรับกลุ่มบุคคลดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้เกิดการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19)    ในพื้นที่อย่างเร่งด่วน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท. 0808.2/ว 4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประกอบกับหนังสือจังหวัดสงขลา ที่ สข 0018.1/ว 5807 ลงวันที่ 7 กันยายน 2564 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันตัวชุมชน (CI) จังหวัดสงขลา โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา มีความเห็นชอบให้กำหนดสถานที่ตั้งตั้งศูนย์กักกันชุมชน (CI) ในระดับพื้นที่ภายในจังหวัดสงขลา ปรากฏตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ 104/2564 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันตัวชุมชน (CI) จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ทั้งนี้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสนับสนุนการดำเนินการจัดตั้งศูนย์กักกันชุมชน (Community Isolation) และศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยต้องสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine) เพื่อเตรียมการรองรับผู้ป่วยสีเขียว ดำเนินการจัดหาสถานที่ เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ต่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง และอาหาร น้ำดื่มแก่ผู้กักกันตัวหรือผู้ป่วยสีเขียว รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำ Community Isolation
องค์การบริหารส่วนตำบลพะตง จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์กักกันชุมชน (Community Isolation) และศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยต้องสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
(Local Quarantine) สำหรับควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายไวรัส โคโรนา 2019 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อให้สามารถควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด รวมถึงดูแลประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพะตงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรองรับกลุ่มผู้ป่วย (สีเขียว) อาการไม่รุนแรง ได้ทันท่วงที 2. เพื่อใช้เป็นสถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. เพื่อการป้องกัน การควบคุม การแพร่ การเฝ้าระวัง และการระงับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 100,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 โครงการจัดตั้งศูนย์กักกันชุมชน (Community Isolation) และ ศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยต้องสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine) สำหรับควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย ไวรัสโคโรนา 2019 200 100,000.00 -
  1. ค่าจ้างเหมาปรับปรุงสถานที่

- จ้างเหมาเต็นท์กองอำนวยการ ขนาด 5 x 12 เมตร จำนวน 1 หลัง
เป็นเงิน 30,000.- บาท 2. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นเงิน 10,000.- บาท - ชุด PPE  จำนวน  30 ชุด - เฟสชิล จำนวน  20 อัน - ถุงมือ จำนวน  5 กล่อง

  1. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับจัดตั้งสถานที่กักกัน เป็นเงิน  3,000.- บาท
    • แอลกอฮอล์ ขนาด 5 ลิตร จำนวน  2 แกลลอน
    • แจลแอลกอฮอล์ ขนาด 50 มล. จำนวน  5 โหล

- ถุงขยะสีดำขนาด 36 x 45 นิ้ว จำนวน  10 แพ็ค - ถุงขยะสีแดงขนาด 24 x 28 นิ้ว จำนวน  10 แพ็ค

  1. ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของบุคคลเสี่ยง จำนวน 5 ชุด  เป็นเงิน 7,000.- บาท ประกอบด้วย

- ที่นอน ขนาด 3.5 ฟุต
- ผ้าปูที่นอน - ปลอกหมอน - ผ้าห่ม - กะละมัง ขนาดกลาง - ขันน้ำ - ขวดฉีดสเปรย์ - ราวตากผ้า - ไม้แขวนเสื้อ - กระดาษทีชชู - ยากันยุง ชนิดขด - อื่น ๆ ที่จำเป็น

  1. ค่าอาหารสำหรับ จนท./อสม. ที่มาปฏิบัติงาน ณ ศูนย์กักตัว วันละไม่เกิน 3 มื้อ ๆ ละไม่เกิน 50 บาทต่อคน    เป็นเงิน 30,000.- บาท

  2. ค่ากระแสไฟฟ้าศูนย์กักกันชุมชน (Community Isolation)  เป็นเงิน  20,000.-บาท

                    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,000.- บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีศูนย์กักกันชุมชน (Community Isolation) มีความพร้อมสามารถรองรับกลุ่มผู้ป่วย    (สีเขียว) ได้ทันท่วงที
  2. มีสถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  3. มีการป้องกัน การควบคุม การแพร่ การเฝ้าระวัง และการระงับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2564 13:30 น.