กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรี อารมณ์ดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 2564-L1490-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 15,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางศิรินันท์ แก้วเล็ก 2. นางเปื้อน ชัยเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2564 31 ธ.ค. 2564 15,050.00
รวมงบประมาณ 15,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของสตรีตำบลโคกหล่อ พบว่าปัญหาสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธ์ถึงวัยกลางคน ช่วงอายุ ๑๕-๕๙ ปี คือ การมีดัชนีมวลกายสูง กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในสตรีเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับสตรีในการป้องกันสุขภาพ พบว่าสตรีอายุ 15-49 ปี มีปัจจัยความเสี่ยงคือสตรีที่ละเลยการตรวจสุขภาพ ปัญหาสำคัญ คือ 1)บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง 2) ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุน โดยเฉพาะจากสามี,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน และ 3) ปัญหาในเรื่องของอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย ซึ่งต้องการการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นจากคำแนะนำของกลุ่มสตรี คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดกูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรม เพื่อสุขภาพ        ในแต่ละหมู่บ้าน อนามัยเจริญพันธุ์เป็นสุขภาพอนามัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ในทุกช่วงของชีวิต     องค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ สตรีมีความสามารถเจริญพันธุ์ได้ มีบุตรได้ และสามารถมีความสุข กับการ    มีความสัมพันธ์ทางเพศได้ สามารถมีบุตรแข็งแรงและบุตรมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัย มีวิธีคุมกำเนิด      ที่ปลอดภัย และมีการดูแลสตรีระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด มีผลทำให้สตรีและบุตร ได้รับความปลอดภัย รวมทั้งความต้องการทางเพศ ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง ต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ อนามัยเจริญพันธุ์ไม่ดีจะมีผลเสียต่อสตรีอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม        การส่งเสริมสถานภาพของสตรีทำได้ในขีดจำกัด การบริการดูแลอนามัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น การดูแลส่งเสริมให้สตรีมีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามวัย รวมทั้งการได้รับบริการตรวจค้นหา เพื่อป้องกันโรค การส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี จึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีให้มีสุขภาพดี และคุณภาพชีวิตดีด้วยทางหนึ่ง สุขภาพสตรี ปัญหาที่สำคัญ คือ ความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเองเป็นต้นการออกกำลังกายเป็นพฤติกรรมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญ การออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 6-12 เดือน อย่างสม่ำเสมอจะให้ประโยชน์ทั้งต่อด้านร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียน ผลดีต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การออกกำลังกายทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของ การเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ (Osteoporosis) ได้ ช่วยในการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น ลดการสะสมระดับของไขมันในร่างกาย ในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 4 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ต่อสัปดาห์ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นจนโตเป็นผู้ใหญ่ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการเกิด สารก่อมะเร็ง และเพิ่มการไหลเวียนของเม็ดโลหิตขาว      ทำให้ลดปัญหาสุขภาพได้ ด้านจิตใจ การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่นอิ่มเอิบ อารมณ์ดี ลดความตึงเตรียด        และนอนหลับได้ดี และผลดีด้านสังคม คือ ช่วยให้มีสัมพันธภาพ และมิตรไมตรีต่อกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชน การที่ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดีนั้นประชาชนจะต้องพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้มากขึ้น พยาบาลในฐานะที่เป็นบุคลากรสุขภาพ ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้หญิง ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของสตรี ควรให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เช่น การจัด โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรี อารมณ์ดีชีวีมีสุข      โดยการผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของสตรี และให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการเกี่ยวการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์ ที่ครอบคลุมเกี่ยวการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 รู้วิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ

0.00
2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 มีตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรค

0.00
3 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 สามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
2.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม
4.ประชาสัมพันธ์โครงการ
5.จัดอบรมตามโครงการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
  -กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นประจำปี
  -บรรยายให้ความรู้ “การดูแลสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง”
  -บรรยายให้ความรู้ “การออกกำลังกายและปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม”
  -บรรยายให้ความรู้ “การควบคุม พัฒนาพฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี”
  -บรรยายให้ความรู้ “อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการที่เหมาะสม” ๖.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ
  2. สตรีมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรคมากขึ้น
  3. สตรีสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2564 13:55 น.